กอดเมฆที่เชียงดาว chiang Dao god made

23 ธันวาคม 2561

ทริป ครอบครัวที่กำลังจะเดินขึ้นเขา เชียงดาว ที่เชียงใหม่

เริ่มต้นด้วยการนัดกันที่ สถานีรถไฟ เชียงใหม่ ที่ คงสภาพเมื่อ 30ปีที่แล้วได้ไกล้เคียงมาก เรารอคนอื่นที่มาพบกันเพื่อเพินทางออกไปเชียงดาวพร้อมกัน

DSC01660

ภาพรถหัวจักรไอน้ำที่จอดไว้ให้ดูเล่าถึงวันวานของรถไฟ

รถตู้5คัน ออกเดินทางพร้อมกันมัน่งหน้าสู่การล่องแก่งน้ำกิ๊ด ระหว่างที่รอให้พร้อมทั้งคณะนั้น พวกเราและเด็กๆบ้างก็ไปดทื่มกาแฟ ส่วนเด็กไม่ต้องพูดถึงวิ่งเล่นกัน รอบเสาธงที่บริเวณที่จอดรถ

img_0228-1.jpg

กาแฟโบราณพร้อมไข่ลวกหน้าสถานีรถไฟ ทำให้นึกถึงบรรยากาศเก่าๆที่เข้ากันกับสถานีรถไฟ DSC01657.jpg

เสาธงที่เด็กวิ่งรอบเล่น

DSC01661

รถจักรไอน้ำจุดเริ่มต้นของขบวนรถไฟในสมัยโบราณ

DSC01663

แหนบรถไฟในสมัยโบราณ และมียี่ห้อด้วยแต่ไม่รู้ยี้ห้ออะไร 

ประวัติการรถไฟไปเชียงใหม่ https://www.chiangmainews.co.th/page/archives/550261

เมื่อประมาณ 100 กว่าปีที่ผ่านมา เวลาที่คนเชียงใหม่จะออกเดินทางไปทำการค้ากับคนกรุงเทพนั้น สามารถเดินทางได้ทางเดียวคือ การล่องเรือไปตามแม่น้ำปิง ซึ่งต้องใช้เวลาเดินทางนานเป็นเดือน การล่องเรือในครั้งนั้น นิยมใช้เรือหางแมลงป่องล่องไปตามลำน้ำจำนวนหลายลำ เพราะบางช่วงจะเป็นแก่งหินจึงต้องใช้คนจำนวนมากมาช่วยลาก

จนกระทั่งเมื่อปี พ.ศ.2448 ทางราชการได้เริ่มลงมือสำรวจเพื่อสร้างทางรถไฟสายเหนือขึ้น โดยมีวิศวกรชาวเยอรมันชื่อ มิสเตอร์ อี. ไอเซ็นโฮเฟอร์ ซึ่งเข้ามารับราชการในกรมรถไฟหลวงเมื่อปลายรัชกาลที่ 5

ทางรถไฟสายเหนือสร้างจากกรุงเทพขึ้นมาจนถึงลำปางก็ต้องหยุดชะงัก เนื่องจากภูมิประเทศในแถบนี้เป็นภูเขาสูงและมีเหวลึก เป็นสาเหตุที่ทำให้การสร้างทางรถไฟต่อจากลำปางมาถึงเชียงใหม่ต้องล่าช้าออกไป อุปสรรค์อันใหญ่หลวงของการสร้างทางระหว่างลำปางมาเชียงใหม่ก็คือ จะต้องทำการขุดเจาะภูเขาขุนตาน ซึ่งอยู่บนสันเขาผีปันน้ำเขตรอยต่อระหว่างจังหวัดลำปางกับจังหวัดลำพูน

งานสำรวจและขุดเจาะถ้ำขุนตานใช้เวลาถึง 11 ปีจึงแล้วเสร็จ โดยเริ่มขุดเจาะตั้งแต่ปี พ.ศ.2450 แล้วเสร็จในปี พ.ศ.2461 ทำการขุดเจาะจากภายนอกทั้งสองด้านเข้าไปบรรจบกันตรงกลาง ใช้ช่างชาวเยอรมันและกรรมกรชาวจีนหลายพันคน กรรมกรชาวจีนจำนวนมากล้มตายลงที่นี่ด้วยโรคอหิวาและไข้มาลาเรีย ส่วนงานเจาะภายในอุโมงค์นั้นใช้กรรมกรชาวอีสานกับคนพื้นเมือง เนื่องจากชาวจีนไม่ยอมทำงานในอุโมงค์ เพราะพวกเขาถือว่าในอุโมงค์เป็นที่สิงสถิตย์ของภูตผีปีศาจ

เมื่อเริ่มทำการขุดเจาะอุโมงค์ขุนตานได้ไม่นาน ก็เกิดสงครามโลกครั้งที่ 1 เสียก่อน มิสเตอร์ อี. ไอเซ็นโฮเฟอร์ ถูกจับตัวเป็นเชลยศึกในฐานะชนชาติศัตรู ถูกขังในเมืองไทยนาน 6 เดือนแล้วถูกส่งต่อไปยังประเทศอินเดียอีก 2 ปี จากนั้นจึงถูกส่งกลับประเทศเยอรมันเมื่อปี พ.ศ.2463 ต่อมาในปี พ.ศ.2472 ท่านได้กลับมาเมืองไทยอีกครั้งและพำนักอยู่ในเมืองไทยจนถึงวันที่ 5 สิงหาคม 2505 จึงเสียชีวิต

ความยากลำบากในการสร้างทางรถไฟจากลำปางมาเชียงใหม่ นอกจากต้องเสียเวลาในการขุดเจาะอุโมงค์ขุนตานนานถึง 11 ปีแล้ว บริเวณนี้ยังมีหุบเหวลึกอยู่หลายที่ในการสร้างทางรถไฟจะต้องใช้โครงเหล็กต่อจากพื้นด้านล่างขึ้นไปให้ได้ระดับทางรถไฟ เช่นที่สะพานเหวลึก หรือสะพานหอสูง ซึ่งอยู่ทางตอนใต้ของอุโมงค์ขุนตานไปเล็กน้อย สะพานนี้สร้างในทางโค้งเวลาที่รถไฟวิ่งผ่านจะต้องชะลอความเร็ว เพราะนอกจากจะโค้งแล้วยังสูงอีกด้วย

อุโมงค์ขุนตานถือได้ว่าเป็นอุโมงค์รถไฟที่ยาวที่สุดในประเทศไทย ชาวบ้านเรียกกันว่า “ถ้ำขุนตาน” ตามชื่อของดอยขุนตาน อุโมงค์นี้เปิดให้ใช้ในปลายเดือนมีนาคม พ.ศ.2461 วัดอุโมงค์นี้ได้ยาว 1,362.05 เมตร

หลังจากที่ทางรถไฟสายเหนือสร้างมาถึงเชียงใหม่ ทำให้การเดินทางจากกรุงเทพขึ้นมาเชียงใหม่ใช้เวลาไม่นานเหมือนแต่ก่อน ผู้คนจำนวนมากหันมาใช้บริการของรถไฟจึงทำให้แต่ละขบวนแออัดไปด้วยผู้โดยสาร จนบางครั้งต้องออกแรงปีนขึ้นไปนั่งบนหลังคาก็มี หลังจากนั้นทางมณฑลพายัพจึงได้สร้างสถานีรถไฟประจำเชียงใหม่ขึ้น ชาวบ้านเรียกสถานีนี้ว่า “สถานีป๋ายราง” หมายถึงที่สิ้นสุดของรางรถไฟ หลังการก่อสร้างสถานีรถไฟเชียงใหม่เสร็จก็ได้มีพิธีเปิดทำการเดินรถไฟสายเหนือขึ้นเมื่อวันที่ 1 มกราคม 2464

อาคารสถานีรถไฟเชียงใหม่หลังแรก สร้างเป็นอาคารคอนกรีตเสริมเหล็กชั้นเดียว ถือได้ว่าเป็นอาคารที่สวยงามมาก เพราะเป็นประตูผ่านเข้าออกระหว่างเชียงใหม่กับต่างจังหวัดที่มีคนใช้กันมากที่สุด สถานีรถไฟเชียงใหม่หลังแรกนี้เคยถูกใช้เป็นที่รับเสด็จ ฯ พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวฯ รัชกาลที่ 7 และสมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี เมื่อครั้งเสด็จพระราชดำเนินประพาสมณฑลพายัพ

ในสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 สถานีรถไฟเชียงใหม่หลังนี้ ถูกเครื่องบินของฝ่ายสัมพันธมิตรทิ้งระเบิดพังพินาศไปพร้อมกับชีวิตคนนับร้อย รวมทั้งอาคารบ้านเรือน โกดังเก็บสินค้าที่อยู่ในบริเวณใกล้เคียงราบเรียบไปหมดเมื่อวันที่ 21 ธันวาคม 2486 หลังจากสถานีเชียงใหม่ถูกระเบิด ทางราชการต้องประกาศงดใช้สถานีรถไฟแห่งนี้ไปหลายปี ผู้โดยสารที่เดินทางโดยรถไฟต้องไปขึ้นลงที่สถานีป่าเส้า จังหวัดลำพูนแทน ต่อมาเมื่อสงครามสงบแล้วจึงได้สร้างสถานีรถไฟขึ้นมาใหม่ในที่เดิมและใช้มาจนถึงปัจจุบัน

การคมนาคมทางเรือซึ่งใช้กันมาก่อนและต้องนอนแรมกันนานเป็นเดือนก็ไม่ได้รับความนิยมอีกต่อไป การสร้างทางรถไฟสายเหนือมาถึงเชียงใหม่ยังถือได้ว่าเป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้การค้าของเชียงใหม่เจริญรุ่งเรืองยิ่งขึ้น เพราะผู้คนในเชียงใหม่และต่างถิ่นสามารถเดินทางเข้าออกไปค้าขายได้สะดวก จนในยุคหลังเมื่อมีการตัดถนนมายังเชียงใหม่ยิ่งทำให้การเดินทางสะดวกรวดเร็วยิ่งขึ้น

(จักรพงษ์ คำบุญเรือง jakrapong@chiangmainews.co.th)

ที่มา https://www.chiangmainews.co.th/page/archives/550261

DSC01670

อันเนี้ยถ่ายให้ดูกลไกสมัยก่อนในการเคลื่อนรถไฟ  ใช่เป่าไม่รู้นะ

อยากรู้ว่าข้างของในการเดินขึ้นดอยหลวงเชียงดาวเยอะแค่ไหน

DSC01674

นี่เลย ยังไม่นับที่ติดตัวไว้อีก นึกแล้วจะเอาขึ้นไปยังไงหว่า เด๋วมีเฉลย

หลังจากครบทีมอิ่มหนำสำราญด้วยข้าวมันไก่ ทุกคนพร้อมออกเดินทางมุงสู่การผจญภัย คือล่องแก่งแม่กิ๊ด เส้นทางเดียวกับการเดินทางไปขึ้นดอยหลวงเชียงดาว 

และในที่สุดกว่าชั่วโมงเราก็มาถึง และข้อมูลที่หาไว้สำหรับใครที่อยากมาลองสัมผัสการล่องแก่งในแต่ละช่วงเวลาของปี 

ช่วงเวลาที่เหมาะสมและสภาพการล่องในช่วงต่างๆ ของปี

เดือนมิถุนายน ความยากระดับ 2 ถึง 3+ มีความปลอดภัยสูง นักท่องเที่ยวสามารถเลือกล่องกับผู้ประกอบการมาตรฐานใดๆ ก็ได้เพราะน้ำยังไม่แรงมากนัก

เดือนกรกฏาคม  เดือนสิงหาคม กระแสน้ำจะดุดันที่ระดับ 3 ถึง 4+ ต้องระวังและใช้เทคนิคสูงสุด ทีมกู้ภัยต้องพร้อม 100% ควรเลี่ยงผู้ให้บริการที่มาตรฐานไม่พอ

เดือนกันยายน น้ำป่าหลาก ความยากระดับ 4 ถึง 5+ เหมาะกับนักล่องแก่งระดับ Hardcore ต้องเว้นข้ามในบางจุด ที่มีความเสี่ยงสูง ต้องระวังและใช้เทคนิคสูงสุดอย่างยิ่ง นักท่องเที่ยวจำนวน 15% มีโอกาสหลุดจากเรือหรือเรือพลิกคว่ำ ทีมกู้ภัยต้องมีประสิทธิภาพสูงสุดและนักท่องเที่ยวควรต้องมีประสบการณ์มาพอสมควรและสามารถช่วยตัวเองได้ในระดับหนึ่งด้วย

เดือนตุลาคม  เดือนธันวาคม ความยากระดับ 3 ถึง 4 มีความปลอดภัย แต่ทีมกู้ภัยต้องพร้อม 100% เพราะกระแสน้ำยังแรงอยู่ หลังจากกลางเดือนธันวาคมมาแล้วกระแสน้ำจะลดความรุนแรงลงมาอยู่ที่ระดับ 3 ซึ่งทุกคนสามารถล่องได้ เหมาะกับการล่องแก่งผจญภัยร่วมกับครอบครัวและเด็กๆ

เดือนมกราคม  เดือนมีนาคม ความยากระดับ 2 ถึง 3 นักท่องเที่ยวส่วนใหญ่สนุกมาก เหมาะกับครอบครัวและเด็กๆ ที่จะมาท่องเที่ยวผจญภัยร่วมกัน รวมทั้งผู้ที่ยังไม่มีประสบการณ์ มี ความปลอดภัยสูงมาก กระแสน้ำใสเย็น สามารถเล่นน้ำไปพร้อมกับการล่องได้

เดือนเมษายน  เดือนพฤษภาคม ความยากอยู่ที่ระดับ 2 ไม่เหมาะกับ การล่องแก่งด้วยเรือยาง เพราะน้ำตื้นเรือยางขนาดมาตรฐานจะล่องไปติดไปตลอดเวลา ตรงกันข้ามผู้ให้บริการที่มีเรือคยัคยางซึ่งมีขนาดเล็กนั่งได้เพียง 3 ที่นั่งจะพานักท่องเที่ยวของพวกเขาสุดสนุกและตื่นเต้นยิ่งกว่าล่องเรือยางขนาดใหญ่ในหน้าน้ำเสียอีก เพราะนักท่องเที่ยวจะได้สัมผัสกับกระแสน้ำ สัมผัสกับคลื่นและแก่งที่น่าตื่นตาตื่นใจอย่างใกล้ชิดแทบจะกลืนเป็นเนื้อเดียวกันกับสายน้ำเลยทีเดียว

ที่มา topchiangmai.com

สำหรับ ทีมที่มาด้วยกันนั้น ล่องในเดือนธันวาคม ซึ่งน้ำไม่แรงมาก แพยาง มีขนาดที่พอนั่งได้5คน ถ้านั่งมากกว่านี้ ท้องแพก็จะติดกับหินในบางช่วง เราต้องถ่อไม่ค้ำในบางช่วง สำหรับบางช่วงน้ำนิ่งเรือไม่วิ่ง จำต้องช่วยกันพาย บางช่วงที่เป็นแก่ง ก็จะมีเสียวกรี๊ดกร๊าดของบรรดาเด็กๆ

เราใช้เวลาล่องแก่งอยู่ประมาณ 1ชั่วโมง จนกระทั่งถึงจุดที่จอดรถไว้ แล้วก็อาหารก็มาพร้อมด้วย ข้าวนึ่งที่แสนอร่อย กับหมูทอดและน้ำพริกตาแดง หลังจากอิ่มแล้ว เราก็เริ่มเดินทางสู่ น้ำตกบัวตองเป็นน้ำแร่ซึ่งมี แคลเซียมคาร์บอเนต พุพุ่งขึ้นมาจากพื้นดิน แล้วไหลเป็นลำธารและน้ำตกขนาดเล็ก มีพื้นที่ ลำธารแข็งเพราะ มีแคลเซียมคาร์บอเนตเคลือบอยู่ ดูสวยงามน่าชมยิ่งนัก

สถานที่ตั้งของวนอุทยานน้ำตกบัวตองและน้ำพุเจ็ดสีนั้น ได้ตั้งอยู่ในท้องที่หมู่ที่ 8 ตำบลแม่หอพระ อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่ ซึ่งจะอยู่ในเขตป่าสงวนแห่งชาติป่าแม่แตง และได้มีเนื้อที่ประมาณ 9,375 ไร่ ซึ่งกรมป่าไม้ได้ประกาศจัดตั้งพื้นที่วนอุทยานน้ำตกบัวตองและน้ำพุเจ็ดสี ในวันที่ 10 ก.ย. 2537  และ มีอาณาเขตติดกับป่าสงวนแห่งชาติป่าแม่แตงและติดกับป่าขุนแม่กวงและป่าสันทรายติดกับแนวเขตสวนป่าแม่หอพระ แปลงที่ 2518 หรือสวนป่าองค์การอุตสาหกรรมป่าไม้

เป็นน้ำตกที่สวยงาม มีลักษณะพิเศษเป็นธารหินปูน มีความสูงประมาณ 100 เมตร มีความลาดชันประมาณ 50 องศา มีทั้งหมด 2 ชั้น นอกจากนี้ตลอดลำธารน้ำตกชึ่งจะไหลลงสู่ลำห้วยแม่ป๋อน จะมีความร่มรื่นและมีน้ำตกขนาดเล็กๆ สวยงาม

เป็นบ่อน้ำพุเย็น มีขนาด 6 X 8 เมตร มีน้ำพุไหลพุ่งออกจากใต้ดินตลอดปี น้ำใส เป็นประกายสีรุ้งเมื่อกระทบแสงอาทิตย์ เป็นแหล่งกำเนิดต้นน้ำที่ทำให้เกิดน้ำตกบัวตอง โดยน้ำจะไหลไปตามลำธาร จนถึงน้ำตกบัวตอง เป็นระยะทางประมาณ 100 เมตร

ที่มา thaiticketmajor.com

นอกจากนั้น ยังมีพันธุ์ไม้หลายชนิดที่เป็นไม้ท้องถิ่นเฉพาะของน้ำตกแห่งนี้ เทียนดอย หรือเทียนป่า สีม่วงที่เห็นได้เป็นระยะๆตลอดทางเดินข้างน้ำตก

เราใช้เวลาอยู่ที่นี่นานประมาณ 1ชั่วโมง เด็กมีความสุขจากการเล่นน้ำตกและเพลิดเพลินกับการเดินชมธรรมชาติของบริเวณโดยรอบรูปนี้พักโฆษณา ขายของครับ แม่ยกประจำงาน

น้ำตกหินปูน

DSC01739

ใบไม้ที่ไม่มีใครมอง แล้วมึงจะลงทำไมวะเนี่ย

DSC01738

ฝรั่งเที่ยวไม่เหมือนไทย เวลาเหลือตากแดด 

DSC01744

หัวอะไรซักอย่าง อาจารย์มะเดี่ยวบอกแล้วแต่ลืม ถามเอาเองนะ

DSC01736

ผู้อุกถัมภ์รายการ ถ่ายกับป้ายยังชี้นิ้วเลย

DSC01743

น้ำพุเจ็ดสี นับให้ครบเลย

พระอาทิตย์เริ่มเหนื่อยล้า แสงที่ส่องผ่าน้ำตกเริ่มมีเงาที่ทอดยาวมากขึ้น และความเย็นก็เริ่มมีกำลังเข้มแข็งมากขึ้น เรา อกเดินทางจากน้ำตกเพื่อมาเข้ามี่พัดปถวอำเภอแม่แตง Royal ping garden resort ที่เป็นที่พักและเตรียมตัวก่อนจะเดินบุกขึ้นดอยหลวงเชียงดาวในวันรุ่งขึ้น

ที่พักสะอาดและน่าจะเป็นการนอนบนเตียงและที่นอนคืนสุดท้ายก่อนจะไปนอนหนาวในเต้นท์ที่บนดอยหลวงเชียงดาว

ทุกคนขมักขเม้นในการฟังการวางแผนในการเกินขึ้นเชียงดาว โดยครูมะเดี่ยว และมีเกมส์ในการหาของหายากบนดอย

http://siamforestcollection.com/พรรณไม้ดอยเชียงดาว/

Click to access ChiangDao_Plants.pdf

อ่านทั้งเล่มเลยครับ มี Link ให้อ่านเที่ยวสนุกขึ้นเยอะเลย

ดอยเชียงดาว หรือ ดอยหลวงเชียงดาว(อังกฤษ: Doi Chiang Dao, Doi Luang Chiang Dao) เป็นดอยหรือยอดเขาที่มีความสูงเป็นอันดับ 3 ของประเทศไทย รองมาจากดอยอินทนนท์และดอยผ้าห่มปก ตั้งอยู่ในเขตอำเภอเชียงดาว จังหวัดเชียงใหม่ มีความสูง 2,275 เมตร (7,136 ฟุต) จากระดับน้ำทะเล ชื่อในสมัยก่อนเรียกว่า “ดอยอ่างสลุง” ชื่อกันตามตำนานพื้นเมืองว่าเป็นสถานที่ที่สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เสด็จมาพร้อมพระอรหันต์ 8 รูป ทรงลงสรงน้ำในสลุงทองคำหรือบริเวณอ่างสลุง จึงเรียกดอยแห่งนี้ว่า “ดอยหลวง” เนื่องจากเป็นดอยที่มีขนาดสูงใหญ่ (“หลวง” ในภาษาเหนือหมายถึง “ใหญ่” ) เพี้ยนเป็น “ดอยหลวงเพียงดาว” จนกลายมาเป็น “ดอยหลวงเชียงดาว” หรือ “ดอยเชียงดาว” ในปัจจุบัน[1]

เป็นที่ตั้งของเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเชียงดาวอุณหภูมิตามปกติจะถูกปกคลุมด้วยเมฆหมอกตลอดปีโดยเฉพาะในฤดูหนาวและฤดูฝน อากาศหนาวเย็นตลอดฤดูหนาวและฤดูฝนอากาศชุ่มชื้นมาก เป็นแหล่งที่มีพืชพรรณหลากหลายและมีหลายชนิดที่เป็นพืชถิ่นเดียวไม่พบในส่วนอื่น ๆ ของประเทศไทย มีทั้งพืชเขตร้อน, กึ่งเขตร้อนและพืชเขตอบอุ่น จึงเป็นสถานที่ ๆ พบความหลากหลายทางชีวภาพมาก เนื่องจากเป็นเขาหินปูน เป็นส่วนหนึ่งของเทือกเขาถนนธงชัยเกิดขึ้นในยุคเพอร์เมียน มีอายุระหว่าง 230–250 ล้านปี เป็นหมู่หินราชบุรีของไทย ซึ่งเกิดจากการทับถมของตะกอนทะเล และซากสัตว์ที่มีหินปูน สันนิษฐานว่า พื้นที่ในบริเวณนี้ในอดีตเคยเป็นท้องทะเลมาก่อนที่การตกตะกอนทับถมของซากสิ่งมีชีวิต เช่น ปะการังและหอย เป็นแหล่งนิยมสำหรับการดูนก[2] มีนกอาศัยอยู่ที่นี่มากกว่า 300 ชนิด[3] รวมถึงสัตว์ป่าชนิดอื่นที่หายาก เช่น ผีเสื้อสมิงเชียงดาว, ไก่ฟ้าหางลายขวาง, กวางผา รวมถึงเลียงผา ซึ่งเป็นสัตว์ป่าสงวน เป็นต้น

ที่มา Wikipedia

วันต่อมา อากาศเริ่มส่อแววเย็นขึ้นสมกับมาเชียงใหม่หน่อย วันนี้แปนการขึ้นเชียงดาวกำลังเริ่มขึ้น ด้วยการไปพบกันที่ค่ายุวชนของ พี่นิคมที่มักจัดทริปดีๆ เกี่ยวกับธรรมชาติทั้งในใจและกายภาพ รายการที่น่าสนใจคือการเดินธุดงค์แบบพระแต่ไม่ต้องบวช เพื่อเรียนรู้ธรรมชาติและชีวิต ความอดทน

แต่ก่อนขึ้นเรามีวัยรุ่นที่ไม่มีเสื้อหนาวเพราะเข้าใจว่าไม่มาก เลยแวะซื้อเสื้อหนาวก่อนทางขึ้นสู่ยอดดอย

เราทานอาหารกลางวันและแวะซื้อของที่จำเป็นที่ตีนดอยหลวงเชียงดาว เพื่อนำขึ้นไปบนดอยหลวง สำหรับคืนแรกเพื่อซ้อมความหนาว เราจะต้องไปพักที่พักที่ แคมป์ของหน่วยรักษาพันธุ์สัตว์ป่า ที่เรียกกันว่า เด่นหญ้าขัด ซึ่งเป็นลานกางเต้นท์ ขนาดสวยงามอยู่บนเนิน ที่มีวิวล้อมรอบเป็นทิวสน เราเสียเวลากับการนั่งบนรถแบบ ขับเคลื่อนสี่ล้อ รถที่พสเราขึ้นมานั้นเป็นรถที่คนขับต้องมีความชำนาญเป็นพิเศษ และเส้นทางวัดใจมากเพราะเป็นทางแคบสวยกันไม่ได้

พี่นิคมที่เป็นคนท้องถิ่นเป็นคนที่มีความรู้ดีม๊ากกก  FB  Nikom Putta แกแทบจะรู้จักต้นไม้ทุกต้น บนเขาหลวงแห่งนี้ รวมทั้งเส้นทางและผู้คนระหว่างทาง พี่นิคมเป็นชาวเชียงดาว แกเล่าให้ฟังว่า เดิมที่มีชาวบ้านที่เป็นขาวเขาอาศัยอยู่ก่อนปี พ.ศ. 2516 ก่อนการประกาศเป็นเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า ทำให้ชาวบ้านบางกลุ่มยังคงใช้พื้นที่บนดอยหลวงในการปลูกชา ซึ่งชาวบ้านเรียกชาว่าต้นเมี่ยง และใบแก่นำไปขายเป็นเมี่ยง ส่วนใบอ่อนด้านตัดขายเป็นใบชาที่เราใช้ดื่มกัน และมีบางส่วนปลูกชา เจียวกู่หลาน

นอกจากนั้นก็เป็นสวนส้มที่ปลูกอยู่บนภูเขาที่เราได้ลิ้มลองแล้วหวานมากแต่ปลอดสารรึเปล่าไม่ทราบจริงๆ แต่ที่แน่ๆ เลี้ยงวัวกันตลอดทางและปล่อยตามธรรมชาติ 

พี่นิคมบอกว่า วัวพวกนี้จำเจ้าของได้เอง และกลับบ้านเองและมีควมผูกพันกับเจ้าของมาก ผมเองมานึกตอนที่ขายไปให้ถูกเชือดแม่งทำใจได้หรือเนี่ย สรุปผมเลยไม่กินเนื่อวัว เกี่ยวกันไหมเนี่ย เราใช้เวลากว่า สองชั่วโมงในการพาตัวเองมาถึง เด่นหญ้าขัด ซึ่งเป็นจุดที่เราจะทำการกางเต้นท์นอนในคืนวันที่2ของการเดินทาง

DSC01782

นี่เลยเต้นท์กางเลียงรายบนสนามหญ้าแบบเนี้ยบมาก หญ้ามันทุกใบเลยเรียกว่าเด่นหญ้าขัดนั่นเอง เกี่ยวกันไหมวะ

เรามาถึงช่วงบ่ายอ่อนก่อนพระอาทิตย์จะตกดิน จึงมีเวลาเดินเล่น

DSC01783

ไลเค่น ครูมะเดี่ยวบอกว่ามันเป้นความอุดมสมบรูณ์ของป่าที่ยังดีอยู่

DSC01808

ครูมะเดี่ยวที่มีความเชี่ยวชาญในเรื่องนกและธรรมชาติมาก ได้พาะวกเราไปรู้จัก แมลง นก และพืชชนิดต่างๆ รวมทั้งเฝ้าดูพระอาทิตย์ตกดิน ดูนกมอดแมลงและดูพระอาทิตย์ ส่วนพี่นิคมเล่าเรื่องความเชื่อมโยงป่าภายนอกกับป่าในใจเราอย่างมีรสชาติ แต่เด็กน่าจะสนใจจับตั๊กแตนมากกว่า 

DSC01786

ไลเค่นเช่นเดียวกันแต่ใกล้ขึ้น เกาะตามต้นไม้

อ่านเลยแยกแยะยังไงขี้เกียจเขียนเจ็บคอ

http://www.lichen.ru.ac.th/index.php/lichen/identify

DSC01749

บรรยากาศโดยรอบ เด่นหญ้าขัดที่พักแรมแบบเต้นท์ในคืนเชียงดาว

DSC01750

ป่าสนที่ไม่มีใครสน

DSC01752

บริเวณเด่นหญ้าขัดเลยต้องมีรูปขัดๆนิดนึง

DSC01753

พี่สำราญและทีมงานกางเต้นท์เนี้ยบมากเรียงกันซะ

DSC01754_1

สองแถวเต้นท์ว่าเยอะแล้วคนเยอะกว่า 5555

DSC01756

รูปนี้ชัดเจน หญ้าขัดจนเด่น ที่มาของชื่อเด่นหญ้าขัด นั่นเอง

DSC01761

ไม่ใช่ไม้พื้นเมืองที่นี้แน่แน่แต่มันก็สวยดี ชื่ออย่าถาม

DSC01762 นอกจากจะมีที่เดียวแล้วยังมีต้นเดียวด้วยทั้งเชียงดาว

DSC01764

จัดไปไม้หน้าคว่ำเนี่ย 

DSC01776_1

พอแล้วรูปสุดท้ายแล้วไม่งั้นต้องเปลี่ยนชื่อเรื่องแล้ว

DSC01769

ลูกอะไรซักอย่างมีกลิ่นหอมอย่าถามว่าลูกอะไร

DSC01775_1

ไม่เลิกแฮะ ความจริงรูปนี้จะถ่ายท้องฟ้าว่ามันหนาวแต่ดันมีดอกนี่มาบัง

DSC01778

ปลงตก

DSC01806

ดอกอะไร


หลังจากพระอาทิตย์ลับไปแล้วก็ได้เวลาสุมหัวกัน พูดคุยทานข้าว เมนูวันนี้มีน้ำพริก ผัดผัก และพระเอกของกับข้าวคงไม่พ้นไข่เจียวที่เอาชนะเมนูอื้นทุกคราที่มาเดินทาง เรานั่งคุยและมีการซักซ้อมความเข้าใจ การเดินทางที่เป็น ไฮ ไลท์ขิงการมาขึ้นดอยหลวงเชียงดาวนั่นคือการเดินเท้าไปตามไหล่เขาจนถึงจุดสูงสุดที่เรียกกันว่า อ่างสลุง ที่เป็นจุดกางเต้นท์ที่ทุกคนบนดอยหลวงอยากมาพักซักครั้งในชีวิต อันว่า อ่างสลุง แม้จริงแล้วคือรอยบริเวณเกือกม้า ที่เป็นหลุบลงไป พอมีพื้นที่ว่างให้ได้กางเต้นท์และหุงหาอาหาร

กฏสำคัญบนการขึ้นมาบนดอยแห่งนี้คือ การถ่าย อุจาระและปัสสาวะ ที่ทางหน่วยรักษาพันธุ์สัตว์ป่า บังคับไม่ให้ถ่ายหรือเบาใดๆลงบนพื้นดินเพราะ จะเป็นปัญหากับระบบนิเวศน์ ของสัตว์ป่าที่อยู่บนดอยหลวงนั้นเอง

เราเข้านอนเร็ว และอากาศก็หนาวอย่างรวดเร็วเมื่อพระอาทิตย์ลับขอบฟ้าไป เสมือนความเย็นได้แอบอยู่ตามมีาต่างๆเพียงแต่รอเวลาให้แสงแห่งดวงอาทิตย์ลับเหลี่ยมเขาไป

เรานอนกันในเต้นท์ บ้านละ 1เต้นท์ บางบ้านก็มากันหลายคนเลยกลายเป็น 2เต้นท์สมาชิกที่มาร่วมการเดินทาง มีตั้งแต่เด็กเล็กไปจนถึงช่วงใกล้เกษียณ การเดินทางจึงต้องมีการรอกันพอสมควร แต่ก็มีความเอื้ออาทรกันและกัน

เราสลบเหมือด ในเต้นท์ที่ทำการจัดไว้ให้ ตอนเช้าเราหวังว่าจะได้ออกไปดู พระอาทิตย์ขึ้นที่กิ่ว แต่สุดท้ายด้วยความเพลียเราก็พลาดมันจนได้ แต่รอบๆที่ทำการนั้นเต็มไปด้วยทะเลหมอกที่หันไปทางไหนก็เป็นสีขาวโพลนรอบตัว

เข้านี้เราตื่นมาแล้วก็นั่งผิงไฟ มีชาวบ้านที่เตรียมมาเป็นลูกหาบ เพื่อหาบสัมภาระ ให้กับผู้ที่ไม่สามารถแบกของของตัวเองขึ้นไปเองได้

เรานั่งสุมไฟกันและขาวบ้านได้ชวนดื่มน้ำร้อนที่ด้านในหม้อต้มนั้น เป็นหญ้าชนิดหนึ่ง เรียกกันว่า หญ้าเอนยืด ซึ่งมีรสชาติที่อร่อยมาก และดื่มแล้วผ่อนคลาย ผมจัดไปหลายแก้วและตามด้วยกาแฟดริฟท์ รสชาติเข้มข้น นอกจากนั้นยังมีการเตรียมทำน้ำพริกหนุ่ม ที่ต้องเอาหอมมาคั่วแล้วตามด้วยเอาพริกหนุ่มมาเผา

DSC01820

คั่วหอมกระเทียมทำน้ำพริกหนุ่ม ที่มีแต่คนแก่ทำกิน

DSC01821

ต้มหญ้าเอ็นยืด ดื่มระหว่างคั่วหอมกระเทียมแถมกันหนาวไปในตัว

DSC01830

ดอกไม้จบ

DSC01832

ดอกไม้อีกดอก

ตอนเช้าอาหารของเราก็เป็นผัดผัก และพระเอกไข่เจียว รวมทั้งซุปร้อนๆให้ด้วย

และแล้วหลังจากอิ่มหนำสำราญ เราก็มาถึงโปรแกรมสำคัญ คือ การเดินทางไกลขึ้นไปตามยอดเขา เป็นระยะทางประมาณ10 กิโล ที่เป็นเสน่ห์ของกานเดินทางบนดอยหลวงแห่งนี่นั่นเอง เราเริ่มออกเดินทางพร้อมกับ อาหารกลางวันที่เป็นข้าวเหนียว ไก่ทอดและหมูทอด ระยะกานเดินทางผ่านเว้นทางที่สวยมากและตื่นตาตื่นใจกับความสวยงามของพันธุ์ไม้ นับว่าเป็นประสบการณ์ที่ต้องมาสัมผัสซักครั้งในชีวิต

DSC01836

เราใช้เวลาเดินทางมากกว่า 4 ชม เพื่อมสถึงอ่างสลุง ซึ่งเป๋นจุดที่จะการเต้นท์นอนในคืนนี้ เราใาถึงพักผ่อน_อสมควรและเตรียมเดินขึ้นยอดกอยหลวงทีาเป็นจุดที่ชมวิวพระอาทิตย์ตกที่สวยที่สุด แต่เส้นทางที่ต้องปืนขึ้นไปนั้นเต็มไปด้วยความยากลำบากเนื่องจากเป็นหน้าผาชัน แต่อย่างไรก็ตามเราก็ขึ้นไปถึงยอดเพื่อชมพระอาทิตย์ตกบนจุดที่สวยที่สุดของดอยหลวงแห่งนี้ สมกับความเหนื่อยที่ต้องเกินมาทั้งวัน จุดฟินของการเดินทางก็อยู่ที่ตรงนี้แหล่ะครับ

DSC01844

สปอนเซอร์

DSC01845

ชอบทำเซอร์ แห่วะ

DSC01975

ทำเป็นยืนเก๋ล้มไม่เป็นท่าไปหลายที

ท้องฟ้าและขุนเขารอบตัวเราที่แลกมาด้วยความเหนื่อยที่ได้สัมผัส มันนับว่าเยี่ยมยอดจริงๆ พวกเรานั่งชมแสงสีที่ค่อยๆเปลี่ยนหลังจากที่แสงอาทิตย์ค่อยๆลับของฟ้า และใครบอกว่าภูเขาบังดวงอาทิตย์ไม่ได้ ยามที่ปลายแหลมของภูเขากำลังสู้กับแสง ช่างเป็นภาพของ ความมหัศจรรย์ ที่หาได้ในทุกวันแต่คนกลับมุ่งมั่นมองแต่เครื่องมือสื่อสาร การได้เสพพระอาทิตย์ตกดิน นับเป็นความธรรมดาที่ไม่ธรรมดา

DSC01979

ทำเป็นสวยล้มเละ

DSC01980

ชัดเจนวัยทอง

DSC01988

ท๊อปออฟเชียงดาว

DSC01972

เฝ้ารอพระอาทิตย์สู้กับยอดเขา แล้วยอดเราหล่ะ มุกเสี่ยวมาก

DSC01981DSC01991_1DSC01991DSC01988

เรากลับลงมาหลังพระอาทิตย์ตกดินด้วความทุลักทุเล เพราะเมื่ออาทิตย์ลับเหลี่ยมเขาเส้นทางเดินก็มืดตึบ แถมลื่นชันแต่ในที่สุดเราก็ลงใาจนถึงบริเวณกางเต้นทและ อาหารก็รออยู่เช่นเดิม คือไข่เจียวและแกงเขียวหวาน อีกทั้งผัดผัก หลายคนเริ่มดอามาม่ามาลวกทานเพราะอยากทานร้อนๆ

เราจบวันด้วยความเหนื่อยและ อยากนอนเต็มแก่

คืนนี้เราเตรียมเครื่องนอนเต็มอัตราศึกด้วยระหง่างทางที่เกินขึ้นนั้น นักเพินทางที่สวนมาบอกว่าความหนาวกลางคืนนั้น 0องศา และแน่นอน คนเขตโคตรร้อนจากกรุงเทพย่อมจิตนการไม่ออกว่า แท้จริงแล้วมันเป็นอย่างไร

เต้นท์ที่กางเป็นเต้นท์แบบเดิม ที่ต้องเพิ่มคือเช่าแผนรองกันนอนที่มีให้เช่าจากพี่ทหาร บอกตรงว่าถ้าไม่มีแผ่นรองนอนนี้ ต้องบอกเลยว่าตายดีกว่าเพราะความเย็นทั้งมวลจะพุ่งขึ้นมาจากพื้นดิน และทำให้เรานอนไม่ได้ ซึ่งได้เคยประสบมาแล้ว

แสงแห่งดวงอาทิตย์เมื่ออ่อนแรงลง ความหนาวทีาเฝ้ารออยู่ก็รีบพุ่งเข้ามาอย่างเร็ว แม่งคล้ายกับความเีกับความชั่วไงไม่รู้ ทำดีมาตลอดถ้าคิดทำชั่วนิดเดียว ความดีที่มีมาเป็นหายหมด เดี่ยวกันมั้ยเนี่ย

การเตรียมพร้อมเต็มอัตราศึกสู้ความหนาวเย็น เราเข้านอนเร็วเพราะรู้ว่าพรุ่งนี้ต้องเดินทางกลับบ้านและต้องไปขึ้นเครื่องบินให้ทันในเวลาที่จำกัด

ระหว่างที่นอนหนาวเหน็บห่มด้วยทะเลดาวในเวลาดึก เสียงเต้นม?โดนเตะดังขึ้นหลายทีในกลางดึก เรานึกว่ากิ่งไม้หล่นและความเหน็บหนาวจึงทำให้เราคร้านที่จะลุกดู จนตอนเช้า คนูมะเดี่ยวที่เป็นคนที่ลุกดูจึงบอกให้ทุกคนทราบว่า เมื่อคืนกวางภูเขาที่เราหากันแทบตาย ส่องแล้วส่องอีก มาเยี่ยมเยียนเราเป็นฝูง

และนี่เป็นสาเหตุให้เจ้าหน้าที่เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า ต้องห้ามการใช้ถุงพลสาติก การทิ้งอาหาร การขับถ่ายแบบมีระบบ เพราะแท้จริงแล้วมนุษย์ไปที่ไหนการทำลายระบบนิเวศน์เดิมจะเกิดขึ้นทันที

เจ้ากวางผาที่หน้าตาน่าจะเรียกว่าแพะมากกว่า มาเพื่อค้นหาอาหารที่คนนำมาทิ้งไว้ เรานอนจนเสียงของเพืาอนร่วมทริป ชวนกันขึ้นไปดูพระอาทิตย์ขึ้นพร้อมกับทะเลหมอก แต่ด้วยความเหนื่อยอ่อนของตัวเองผมจึงไม่ได้ลุกขึ้นไป สาวนลูกชาย นายทัทม นั้นบอกมาแล้วต้องให้ครบจึงแต่งตัวเดินขึ้นไปคนเดียวเพื่อได้มีโอกาสเห็นแสงแรกแห่งวันซึ่งแน่นอนมันเป็นแสงท้ายๆปี เวงตะวันขึ้นทุกวันแต่กลับอยู่ที่จุดท้ายบ้างจุดต้นบ้าง แท้จริงแล้วดวงตะวันเพียงแต่มีความเที่ยงและความมานะไม่หยุดหย่อน ขาดก็แต่ตัวเราที่มักให้ตะวันเป็นจุดเริ่มต้นหรือลงท้าย เลอะเทอะเมายาแล้วเรามำเป็นปรัชญาถุยส์

เราพร้อมออกเดินทางกลับ การผจญภัยขากลับบนเส้นทางเดิม เพื่อลงจากอ่างสลุง มุ่งสู่ตัวเมืองเชียงใหม่ การเดินทางตามไหล่เขาตลอดเวลา เกือบ 4ชั่วโมง ผ่านวิวสวยนับล้าน ผ่านเรื่องราวของป่า และการค้นพบอยู่ตลอดเวลา ขึ้นอยู่กับผู้เดินทางและความรู้ความตั้งใจที่จะมาเดินในทางแห่งนี้ เราสงนทางกลับกลุ่มที่กำลังขึ้นไปนอน เช่นเดียวกับเรา แต่ละกลุ่มมีจุดหมายของการใาถึงต่างกันมาก แม้มันจะเป็นทางเดียวกัน บางกลุ่ม อุปกรณ์พร้อมและมุ่งมั่นทีาจะมาเรียนรู้ ดูจากการพูดคุยแลอุปกรณ์ที่แบกมา บ้างบางกลุ่มต้องการมาเพื่อเช็คอิน และเป็นหน้าประวัติศาสตร์ของตนที่ได้ชื่อว่าเป็นผู้พิชิต บ้างก็อาศัยป่าเป็นเครื่องหย่อนใจ เปิดเพลงเดินทาง บ้างก็มาเพิ่มความรักระหว่างกัน ด้วยระยะทางและความสูง บ้างก็อยากพิชิตใจตัวเอง แน่นอนมัวแต่มองคนอื่นเขาว่ามาทำไมเลยต้องย้อนกลับมาถึงตัวเรา “แล้วกูมาทำไมวะ” ลูกมา ภรรยามา หรืออยากมาเอง หรือไง เข้าสูตรเลยมองคนอื่นออกพอย้อมกลับมามองตัวเองไม่มีจุดหมาย สุดท้ายก็ต้องบอกว่า บุพเพมั้ง ระหว่างทางขากลับผมเดินกับภรรยา เป็นเวลากว่า 3ชั่วโมง และสิ่งหนึ่งที่ค้นพบระหว่างทางแม้ไม่ได้มีจุดหมายว่ามาทำไม แต่ความเป็นจริงที่ดอยหลวงเชียงดาวและ การเดินทางครั้งนี้มอบให้คือได้ไกล้ชิดภรรยาแบบไม่มี เครื่องมือสื่อสารใดมากางกั้น และได้ชมธรรมชาติรอบตัวพูดคุยแบบที่ในหนังเขาทำกัน 5555 เกี่ยวไหมวะเนี่ย

เที่ยงกว่าก็มาถึง ที่กางเต้นท์เดิมก่อนเดินขึ้นเป็นที่รถมาได้แค่นี้ทีาเหลือต้องอาศัย เท้าเท่านั้น

เรามาทานอาหารกลางวันกันที่นี่ และบ้านไหนพร้อมก็เดินทางบนรถ โฟร์วิลล์ เพื่อลงจากดอยหลวงแห่งนี้ ผมลงมากับรถพี่นิคม แกบอกว่ามีอีกหลายที่ๆน่สไปสัมผัสทำให้เกิดแรงบันดาลใจและการวางแผนในปีต่อไปที่จะ มีจุดมุ่งหมายการเดินทางที่แท้จริงมากกว่าแค่พรหมลิขิต

สุดท้ายเราร่ำลากันและเดินทางมาสนามบินเชียงใหม่เพื่อกลับไปเมืองในหมอกที่ไม่ต้องรอตอนไหน เพียงแต่หมอกที่สัมผัสได้นั้น ชาวบ้านแถวนี้เขาเรียกว่า “ควัน” สวัสดี

Trip พัทลุงพุงกาง


\n

เริ่มต้นด้วยการชักชวนของสาวสวยนักปั่น สายเสพสุขที่เน้น ทัวร์ริ่งจักรยานที่แท้จริง แบบแบกเป้ติดรถและขี่ไปเรื่อยๆ ทำให้รู้สึกถึงความหลังครั้งยังละอ่อนที่ได้แอบตามพระธุดงค์ นอนตามกลดในสถานที่ต่างๆ คราวนี้เปลี่ยนจากเดิน นั่งรถมาเป็นปั่นจักรยาน

14มิถุนายน เจอกันที่หัวลำโพง11.00น เพื่อจ่ายค่าจักรยานคันละ 96 บาท หลังจากนั้นฝากของและจักรยาน แล้วค่อยออกไปทานอาหารกลางวันที่ตรอกหมู
13.45กลับมารับจักรยานและกระเป๋าเพื่อเอาไปขึ้นรถไฟ รถไฟเดินทางสู่พัทลุง รถไฟออกเวลา 15.10น ถึงพัทลุง 05.46

-15 มิถุนายน ถึงสถานีรถไฟพัทลุง 0546น. ลงรถเตรียมจักรยาน ออกเดินทางหาอาหารเช้าในเมืองทาน มีร้านติ่มซำ2-3ร้านในเมือง หลังอาหารเช้าปั่นจักรยานชมเมือง โดยมีวัดและวังน่าชม ก่อนจะปั่นมาหาขนมทานเล่นนอกเมือง มีร้านขนมหวานป้ากี้แนะนำอยู่ที่ควนขนุน
บ่ายๆเข้าเช็คอินที่บ้านริมเล ปากประ ที่พัก2ห้องนอน
ระยะทางรวมวันนี้ 20-30กิโลเมตร
-16 มิถุนายน เช้านั่งเรือไปดูยอยักษ์ ที่ทะเลน้อย รวมทั้งควายน้ำ บัวแดงและสะพานเอกชัย 8โมงกลับมาทานอาหารเช้า
10โมง ปั่นจักรยานไปเที่ยวตลาดไผ่ ช่วงบ่าย ปั่นไปชุมชนทะเลน้อย ช่วงเย็นปั่นจักรยานไปดูพระอาทิตย์ตกดินที่สะพานเอกชัย
เส้นทางไปกลับตลาดไผ่ 40กม
เส้นทางไปชุมชนทะเลน้อยและสะพานเอกชัย 15กิโล ไปกลับ=30กม
ระยะทางรวมวันนี้ ประมาณ40+30 = 70กม.
-17มิถุนายน หลังอาหารเช้า เราจะแพ็คของออกเดินทางจะแวะตลาดใต้โหนด ตั้งอยู่ในเส้นทางไปตรัง ถึงตรังช่วงเย็น หลังเช็คอินหาอาหารทาน
บ้านริมเล -ตลาดใต้โหนด 26กม
ตลาดใต้โหนด-ตรัง 68กม
ระยะทางรวม 26+68 = 94 กม.
-18มิถุนายน เช่ารถตู้ไปเที่ยวสระมรกตและน้ำตกร้อนที่กระบี่ โปรดเตรียมชุดว่ายน้ำไปด้วย อาหารเย็นทานในเมืองหรือหาสถานที่กันอีกที ปิดท้ายด้วย โรตี,ชานมเจ้าเดิม
-19มิถุนายน เช้าออกวิ่งก่อนอาหารเช้า เที่ยงทานอาหารอร่อย ก่อนเก็บกระเป๋าเดินทางไปสถานีรถไฟตรัง รถไฟออก 17.25 ถึงกรุงเทพ 8.30

เริ่มต้นด้วยการนัดกันที่ หัวลำโพง สถานีclassic ที่สุด หนิงและพี่โม่ โกแอน ก้อยเยอรมัน มาก่อนที่ผมจะมา ขาดก็แต่ พี่บี๋กับพี่ไกด์ พี่อู๋ มาก่อนแล้ว เราต่องมัดจักรยานไว้กับรั้วในชานชลาเพื่อป่องกันโขมย ฝากของและเริ่มต้นยุทธการพีงกางกันทันที

เอาของไปฝากทีรับฝากของกัน

เข้าแถวรับฝากของ และเตรียมตัวไปกินของอร่อยแถวตรอกโรงหมูเยาวราชกัน พี่หนิงสั่งกว๋ยเตี๋ยวคั่วไก่ไว้รอเลยที่วงเวียนโอเดียน

คั่วไก่ทะยอยมาพร้อมสุกี้แบ่งกันกิน ยุทธการพุงกางได้เริ่มขึ้นแล้ว ไม่นานพี่บี๋และแฟนสาวแสนสวยก็มาร่วมขบวนการกินทะลุมิติด้วย ต้องขอบคุณแฟนพี่หมูที่พามาร้านอร่อย ที่เริ่มต้นทริปได้อย่างสวยงาม

ไม่ใช่แค่นั้น หลังจาก๋วยเตี๋ยวไก่ ทุกคนพากันเดินไปตระเวนกินต่อ แต่แยกเป็น2สาย สายข้าวหมูแดง กับสายแก้ตุ๋นยาจีน ซัดกันเละไปอีกหนึ่งชุด ขอบอกว่าอร่อยมากมาก

สายแกะตุ๋น อาซิ่มดุม๊ากแถมใส่แว่นปั่นจักรยานแต่ขายแกะ

สายTouristที่มีสมาชิกเยอะกว่า
แน่นอนกินอาหารเสร็จแล้วนาอมต้องหากาแฟดีๆดื่มให้ได้ พี่โม่พามาร้านเด็ด ที่โคตรสวยในซอกหลืบที่ไม่เคยคิดว่ามันจะมีร้านกาแฟอร่อยซ่อนอยู่ ร้าน NANA coffee ร้านที่น่าจะถ่ายทำหนังหลายเรื่อง https://readthecloud.co/cafe-5/

C

Cakeด้วย แถมมีลูกค้าเวลาเหลือที่มานี่งดูกาแฟหยดที่ละหยดผ่านดริป อย่างละเมียด น่าอิจฉาว่ะ คนไรมีเวลาดูกาแฟ แกงค์พุงกางมาถึงปรั๊บ ความเงียบก็ได้อันตรธานหายไปทันที อารมณ์มีโฆษณา คั่นระหว่างบทรักของออเจ้า ไงไงั้นเลย สายปั่นพรึ่บ จิบกาแฟเมามัน แล้วก็ถ่ายรูปกัน จนร้านแคบไปถนัดใจเลย หลังจากเม้าท์มอยกันยกใหญ่ก็ได่เวลากลับหัวลำโพง เพื่อเตรียมพร้อมขึ้นรถไฟไปยังจุดหมาย พัทลุงพุงกางกันแล้ว แฟนพี่หมูเตรียมพร้อมรถมากแต่ไม่ได้ไปใาส่งบรรดาขาปั่นคยอื่นชนิดที่คนที่ไปอายแทนเพราะ ความพร้อมไม่ถึงครึ่งนึงของแฟนพี่หมูเล้ย

หัวลำโพงต้องนั่งรอกับพื้นได้บรรยากาศดีจัง

หลังจากรถไฟมาถึงชานชลาพร้อมขึ้นแล้ว บรรดาสาวกล้อหมุนก็เอารถจักรยานขึ้นรถไฟกันชุนละมุน สุดท้ายรถจักรยานก็อยู่เต็มตู้สัมภาระ และบรรดาขาแรงก็มานั่งตู้ชั้น1ที่แยกห้องดูหรูหราม๊าก

สภาพภายในห้องนอนชั้นหนึ่ง ยั่งกับสลัมอ่อนนุช ข้าวของกองกันเละ แต่นั่งสบาย ผมนังกับโกแอน เพราะอายุน่าจะไล่จี้กัน ส่วนหนิงนั่งกับพี่โม่ ส่วนก้อยและคนอื่นๆสลับกันไปมา เดินคุยตามตู้ต่างๆ พี่อู๋ พี่ไกด์ พี่บี๋ สลับกันคุยกันเรื่ิองจักรยาน

เอารถขึ้นรถไฟค่อนข้างยากเพราะปนะตูทางเข้าแคบม๊ากหรือแฮนด์มันใหญ่ฟะ

พี่โม่กำลังเก็บของบนรถไฟ เพื่อไปยังในห้องเดินทาง

รถไฟออกเดินทางช่วงบ่ายสามโมง มุ่งหน้าปาดังเบซา ในมาเลเซีย

สภาพรถไฟชั้น1 มีเตียง2ชั้น มีแอร์เย็นฉ่ำ และแล้ว ข้าวผัดรถไฟก็มาให้ออเดอร์ แต่ขอบอกว่าราคาแพงมาก 160บาทต่อหนึ่งที่แต่ก็ต้องกินเพราะไม่มีอะไรจะกิน

เราคสดกันว่าจะถึงพัทลุงตีห้า และต้องพร้อมลงของอย่างรวดเร็วตอน5นาฬิกา

อันนี้ห้องน้ำและห้องอาบน้ำบนรถไฟ สภาพพอได้ แต่กลิ่นต้องปรับปรุง เพราะแรงส์มากกกก ส่วนการนอนเนี่ย เหมือนมีคนไควเปลตลอดเวลา

แต่เช้าตรู่ตีสีี่ โกแอนก็ตื่นเตรียมพร้อมแต่อาโกบอกว่าจริงๆแล้วนอนไม่หลับต่างหากจะเรียกว่าตื่นได้ไง

เช้าเราพร้อมกันที่สถานีพัทลุงแบ่งทีมเิาของลง รถลงจากรถไฟ

ระหว่างประกอบรถเตรียมขี่สปริงของพี่โม่กระเด็นหายจนต้องตามหาโดยเฉพาะโกแอนที่ทึ่มทุนก้มเข้าไปใต้รถไฟ

นึกว่าหาสร้อยทองแต่โกแอนก็อ่อนแรงหาไม่เจอ สุดท้ายเลยต้องเลิก ปล่อยให้มันหายไปกับรถไฟ

ตาอจากนั้นมุกคนมุ่วตรงมาร้านอาหานเช้าแบบภาคใต้ที่ตองมีขนมจีบ ซาลาเปา ปาท่องโก๋ กาแฟโบราณซัดกันเละ และถ้ากันไปตลาดต่อให้มันสมใจทัวร์พุงกาง ซะงั้น จ่อไปก็ตลาดสด

แถวตลาดสด มีขนมโบราณหลายชนิดให้ลิ้มลอง เช่น ขนมหัวล้าน และอื่นๆ ส่วนแถวตลาดมีชาวพัทลุงมารวมกันนั่งดูนกกรงหัวจุกมาซ้อมกัน

ถามบรรดาเซียนนกกันว่าเจาแข่งกันยังไง เฮียแกบอกมี2อย่างคือแข่งร้องเยอะกับแข่งร้องเพราะ ซึ่งถ้าแข่งร้องเยอะจะจับเวลาเท่ากัน ส่วนร้องเพราะก็จะมีกรรมการมาฟังแล้วตัดสิน

ต่อจากนั้นเราก็มุ่งหน้า ไปวังเจ้าเมืองพัทลุง สถานที่ที่เราจะไปเยี่ยมเป็นแห่งแรก คือวังเก่า วังใหม่
วังเจ้าเมืองพัทลุง (วังเก่า-วังใหม่) ตั้งอยู่ใกล้กับวัดวัง เดิมเป็นที่ว่าราชการและเป็นที่พักอาศัยของเจ้าเมืองพัทลุง ปัจจุบันยังเหลืออยู่ส่วนหนึ่งคือ วังเก่า สร้างในสมัยพระยาพัทลุง (น้อย จันทโรจวงศ์) เป็นผู้ว่าราชการ ต่อมาวังได้ตกทอดมาจนถึงนางประไพ มุตามะระ บุตรีของหลวงศรีวรฉัตร ส่วนวังใหม่ สร้างเมื่อ พ.ศ. 2432 โดยพระยาอภัยบริรักษ์จักราวิชิตพิพิธภักดี (เนตร จันทโรจวงศ์) บุตรชายของพระยาพัทลุงซึ่งเป็นเจ้าเมืองพัทลุง ปัจจุบันทายาทตระกูล “จันทโรจวงศ์” ได้มอบวังนี้ให้เป็นสมบัติของชาติและกรมศิลปากรได้ประกาศขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถานวังเก่า เมื่อวันที่ 16 กรกฎาคม พ.ศ. 2535 และวังใหม่ เมื่อวันที่ 31 พฤษภาคม พ.ศ. 2526

มีทั้งหลังเก่าและหลังใหม่อยู่ติดกัน และมีศาลาติดน้ำ

ต่อจากจวนผู้ว่าเรามุ่งตรงต่อไปที่ วัดวัง วัดโบราณที่มีมานานมากแล้ว


วัดวัง เป็นวัดโบราณที่มีความสำคัญคู่กับเมืองพัทลุงมาตลอดสมัยรัตนโกสินทร์ เพราะเคยเป็นสถานที่ประกอบพิธีถือน้ำพิพัฒน์สัตยาของข้าราชการเมืองพัทลุงมาแล้วในอดีต จนกระทั่งทางราชการได้ยกเลิกพิธีถือน้ำพิพัฒน์สัตยา และได้มีการย้ายเมืองพัทลุงจากตำบลลำปำไปตั้งที่ตำบลคูหาสวรรค์คือที่ตั้งเมืองปัจจุบัน เมื่อ พ.ศ. ๒๔๖๙ วัดวังเป็นวัดที่มีศิลปกรรมควรแก่การศึกษาค้นคว้ามากมาย เช่น อุโบสถก่อด้วยอิฐถือปูน มีระเบียงคดล้อมรอบ ภายในอุโบสถประดิษฐานพระประธานปูนปั้นปางมารวิชัย จำนวน ๔ องค์ (พระพุทธรูปปูนปั้น จำนวน ๑๐๘ องค์) ฝาผนังทั้ง ๔ ด้าน เขียนภาพจิตรกรรม เมื่อ พ.ศ. ๒๔๐๓ ตรงกับสมัยรัชกาลที่ ๔ เป็นการเล่าเรื่องพระพุทธประวัติและเทพชุมนุม นอกจากนี้ยังมีเจดีย์ย่อมุมไม้สิบสอง จำนวน ๒ องค์ ธรรมาสน์จำหลักไม้ของรัชกาลที่ ๖ มีอักษรจารึกพระปรมาภิไธยย่อ จปร. และ ข้อความว่า “ทรงพระราชอุทิศในงานพระบรมศพ พ.ศ. ๒๔๕๓” วัดวังอยู่ห่างจากศาลากลางจังหวัดพัทลุง ไปทางทิศตะวันออก ตามถนนราเมศวร์ ถนนอภัยบริรักษ์ ประมาณ ๗ กิโลเมตร

ออกจากวัดวังเราก็มุ่งหน้า

เจดีย์ประธาน วัดเขียนบางแก้ว อ.เขาชัยสน จ.พัทลุง

รูปแบบศิลปะ
ตั้งอยู่หลังอุโบสถเป็นเจดีย์ก่ออิฐถือปูน สูง 22 เมตร รอบฐานยาว 16 เมตร ตำนานเพลานางเลือดขาวระบุว่า พระยากรุงทองเจ้าเมืองสทิงพาราณสีเป็นผู้สร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ. 1542 แต่หากจะพิจารณาตามลักษณะทางสถาปัตยกรรม สันนิษฐานว่าสร้างขึ้นในสมัยอยุธยา โดยจำลองรูปแบบมาจากวัดพระมหาธาตุวรมหาวิหาร นครศรีธรรมราช

ประติมานวิทยา
เจดีย์หรือสถูป มีความหมายถึงสถาปัตยกรรมสำหรับบรรจุอัฐิหรือพระบรมสารีริกธาตุของพระพุทธเจ้า มีต้นกำเนิดมาจากเนินดินฝังศพในประเทศอินเดีย ก่อนจะพัฒนากลายมาเป็นสัญลักษณ์แทนถึงพระพุทธเจ้าในพุทธศาสนา แต่ละภูมิภาคที่นับถือพุทธศาสนาล้วนมีศิลปกรรมของสร้างสรรค์เจดีย์ที่แตกต่างกันออกไปอย่างหลากหลาย

ต่อจากเจดีย์ประธาน วัดเขียนบางแก้ว ก็ได้เวลาปั่นกับที่พักซึ่ง อยู่แถวทะเลน้อยอันมืชื่อเสียง ต้องปั่นกลับมาในเมืองใหม่อีกรอบ อากาศร้อนจัดจนต้องแวะกิน น้ำแข็งใสของป้าแมงลัก ที่จัดน้ำแข็งไสไม่เหมือนกับที่สั่งเลย หมดรอบน้ำแข็งไส หายร้อนเตรียมปั่นต่อไปที่พัก แต่สุดท้ายให้สมกับพุงกาง แวะกินขนมจีน ก่อนกันดีกว่า น้ำยาอร่อยมากเจ้าของร้านเป็นทนาย แต่ทำอาหารอร่อยมากถึงมากที่สุด เผ็ดแบบแลบลิ้นเลียอะไรก็ไม่หาย และแล้วเราก็มุ่งหน้ายังที่พัก

ที่พักที่คุณนายหนิงเป็นธุระจัดหานั้นสวยงามมากอยู่ติดน้ำ ทะเลน้อยด้านหน้ามียอขนาดใหญ่ติดตั้งอยุ่

เป็นไงเก๋ไหมหล่ะ คุณนายหนิงจองไว้ให้2ห้องใหญ่ที่สามารถนอนได้8คนสบายๆ วันนี้และพรุ่งนี้จะพำนักพักพิง อยู่ที่นี่

หลังจากอาบน้ำซักผ้าและทำธุระส่วนตัวกันเสร็จเราก็มุ่งหน้า สู่่ร้านอาหารสุดเก๋ริมน้ำเหมือนกันไม่ห่างจากโรงแรมมากนัก

อาหารอร่อยมากโดยเฉพาะน้ำพริก แล้วก็ผัดสายบัว แล้วก็แกงคั่วหอยขม ทุกเมนูอร่อยระดับแนวหน้า จัดกันอิ่มแปร้และทุกคนนึกถึงเตียงนอนมาก เพราะอดนอนกันมาแถมปั่นตากแดดมาทั้งวัน ถึงหมอนได้สลบไม่รู้เรื่อง

วันต่อมามีนัดกับยอและควาย เราออกเดินทางด้วยเรือแต่เช้าเพื่อชมทุ่งบัวและความงามของทะเลน้อย โดยเฉพาะยอยักษ์ ที่ไม่ใช่ตัวอักษรแต่เป็นเครื่องมือจับปลาที่น่าจะเอาเปรียบปลาที่สุดเพรสะฝช้ตาข่ายจุ่มลงในน้ำแล้วก็ยกขึ้นมาปลาว่ายออกไม่ทันติดอยู่ในตาข่าย ซะงั้น

มีเรือหางยาวนักท่องเที่ยวออกชมยอและล่องไปในบึงกันหลายลำมาก ส่วนมากเป็นนักท่องเที่ยวเพราะใส่เสื้อชูชีพกันทุกคนยกเว้นคนสำคัญคือคนขับเรือดันไม่ใส่

หลีงจากยกยอปอปั้นกันพักใหญ่ เรามุ่งตรงไปดุควายน้ำ ซึ่งเป็นพันธุ์เฉพาะที่สามรถลงน้ำดำน้ำได้ และกินบัวและหญ้าเป็นอาหาร

ควายน้ำก็ได้ลงมาแหวกว่ายให้ชมสมใจอยาก ตามด้วยทุ่งดอกบัวแล้วกับที่พัก

หลีงจาหมิดชมบึงกันจนเอียนก้กลับมาทานอาหารเช้าที่ๆพัก แล้วก็มุ่งหน้าสุ่ตลาดสวนไผ่

https://th.readme.me/p/13241

สุดท้ายก็มาเปียกฝนกันและขี่ฝนพรำมาตลอดทาง โกแอนแวะซื้อขาหมูและของกิน เพื่อกลับมาที่พัก สุดท้ายเราก็มาปาร์ตี้ กันที่ๆพักมีที่พัก มีพี่จากการไฟฟ้าฝ่ายผลิตมาร่วมรัยทานอาหารด้วย ระหว่างกลับมาก็ต้องช่วยกันล้างรถ แล้วก็เตรียมพร้อมเพื่อจะพบกับ 100กิโลเมตรข้ามเขาเข้าตรังในวันต่อไป

วันที่โหดที่สุดก็ถึง วันที่เราต้องขี่ข้ามเขาเพื่ไปยังจังหวัดตรัง ซึ่งต้องปั่นมากกว่า100โล ซึ่งจุดแรก และต้องพบกับฝนแน่ๆ และ เขาที่ไม่มีเรา และจุดแรกเราต้องไปแวะที่ตลาดใต้โหนด ที่เป็นตลาดศิลปิน และนักเขียนSeawrite กนกพงศ์ สมพงษ์พันธ์ ตอนหลังพัฒนานเป็นตลาดใหญ่ คนมาขายของกันเยอะแยะ จนกลายเป็นแหล่งชุมชนที่มสเมี่ยวกันของคนต่างเมือง จากนั้นเราก็มุ่งตรงสู่ตรัง

ฝนตกตลอดทางต้องคอยแวะหลยฝนบ้างเป็นระยะในที่สุดเราก็มาถึง ตัวเมืองตรังด้วยความปลอดภัย แล้วเราก็จบทริปด้วย ร้านข้าวต้มด้วยความหิวโหย ต่อด้วยปาท๋องโก๋ยามดึก ฝนตกตลอดคืน

เราเข้าพักกันที่ Hostel Tree space ในเมือง http://reviewtrang.com/the-tree-sleep-hostel/#

สวยงามพระราม9 แต่สังกะสีกับฝนขุดบรรยากาศ เหมืองแร่ ดีชะมัด ฝนตกไม่มีหยุดทั้งวันทั้งคืน

วันรุ่งขึ้นจะเป็นวันพักร่าง1วันก่อนก่อนเดินทางกลับกรุงเทพฯ วางแผนไว้ว่าจะเช่ารถตู้พักผ่อน1วันไม่แตะจักรยาน หนิงวางแผนว่าไปดูสระมรกตที่กระบี่และน้ำตกร้อน หลังจากนั้นจะหาของอร่อยกินกัน เช้าหลังจากทานอาหารคือ ติ่มซำ ที่แสนอร่อยของเมืองตรังแล้ว และแวะซื้อหมุย่างเมืองตรังที่หนังแสนกรอบที่ตลาด แล้วเราก็มุงตรงสู่บึงมรกต ในจังหวัดกระบี่

Poolต้นกำเนิดสระมรกต เป็นบ่อน้ำที่มีความใสสะอาด ที่เป็นเช่นนี้เพราะน้ำซับเหล่านี้มาจากภูเขาหินปูนจึงทำให้สระมีสารละลายของแคลเซียมคาร์บอเนต (CaCo3) ที่ทำให้สารแขวนลอยในน้ำตกตะกอนได้ง่ายและที่เห็นน้ำผุดตลอดเวลาคล้ายน้ำเดือดอันเนื่องจากก้นบ่อมีรอยแยกของเปลือกโลก ซึ่งภายใต้เปลือกโลกมีของเหลวที่มีความร้อนเรียกว่า แมกม่า (magma) ความร้อนจากของเหลวนี้ระเหยมาทางรอยรั่วของเปลือกโลก ทำให้เราเห็นน้ำผุดอยู่ตลอดเวลาสระน้ำผุดมีเรื่องเล่าว่า ในสมัยโบราณ ชาวบ้านมีความเชื่อว่าเป็นสระที่นางกินรีลงเล่นน้ำ สระน้ำผุดเป็นสระน้ำขนาดเล็ก มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 15-20 เมตร เกิดจากน้ำใต้ดินที่พุ่งขึ้นมาบนผิวโลก ผ่านรอยแตกของพื้นดิน (ตาน้ำ) ขึ้นมารวมกันเป็นสระน้ำขนาดเล็กกลางป่า และเป็นธารน้ำลงสู่สระมรกต น้ำในสระที่เห็นมีสีน้ำเงินครามเพราะเป็นน้ำที่มีแร่ธาตุต่างๆหลายชนิดเช่น แคลเซี่ยมคาร์บอเนต, แมกนีเซียม, แมงกานีส และกำมะถัน เป็นต้น ทำให้เรามองเห็นน้ำในสระเป็นดัง

ประวัติความเป็นมา

ในการประกาศใช้พระราชกฤษฎีกาฉบับนี้ คือ เนื่องจากป่าเขาประ ป่าบางคราม ป่าช่องศิลา ป่าช่องขี้แรด และป่าใสป่าแก่ ในท้องที่ตำบลทุ่งไทรทอง กิ่งอำเภอลำทับ อำเภอคลองท่อม ตำบลพรุดินนา ตำบลคลองท่อมใต้ ตำบลคลองพน อำเภอคลองท่อม จังหวัดกระบี่ และตำบลอ่าวตง อำเภอวังวิเศษ ตำบลกะลาเส อำเภอสิเกา จังหวัดตรัง เนื้อที่ประมาณ 97,700 ไร่ มีสภาพภูมิประเทศเป็นเทือกเขาสูง สภาพป่าเป็นป่าดิบชื้น มีแหล่งน้ำ แหล่งอาหารของสัตว์ป่าอุดมสมบูรณ์ มีสัตว์ป่าสงวน สัตว์ป่าคุ้มครองที่สำคัญหลายชนิดอยู่เป็นจำนวนมาก เช่น เลียงผา สมเสร็จ เสือโคร่ง เสือลายเมฆ และนกชนิดต่างๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งนกแต้วแล้วทองคำ ซึ่งเป็นนกที่หายากและใกล้จะสูญพันธุ์ ประกอบกับเป็นป่าต้นน้ำลำธารที่เป็นต้นกำเนิดของคลองและลำห้วยที่สำคัญหลาย สาย เช่น คลองบางเตียว คลองชี และคลองท่อม ฉะนั้น เพื่อรักษาไว้ซึ่งพันธุ์สัตว์ป่าและให้เป็นแหล่งที่อยู่อาศัยของสัตว์ป่าโดย ปลอดภัย รวมทั้งเป็นการช่วยป้องกันรักษาต้นน้ำลำธารและสภาพแวดล้อม ตามธรรมชาติที่มีอยู่ในพื้นที่แห่งนี้ให้คงอยู่ถาวรตลอดไป สมควรกำหนดบริเวณที่ดินป่าดังกล่าว ให้เป็นเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ.2535 จึงจำเป็นต้องตราพระราชกฤษฎีกานี้ ประกาศในราชกิจจานุเบกษา กำหนดบริเวณที่ดิน ป่าเขาประ ป่าบางคราม ป่าช่องศิลา ป่าช่องขี้แรด และป่าใสป่าแก่ ในท้องที่ตำบลทุ่งไทรทอง กิ่งอำเภอลำทับ อำเภอคลองท่อม ตำบลพรุดินนา ตำบลคลองท่อมเหนือ ตำบลคลองท่อมใต้ ตำบลคลองทน อำเภอคลองท่อม จังหวัดกระบี่ และตำบลอ่าวตง อำเภอวิเศษ ตำบลกะลาเส อำเภอสิเกา จังหวัดตรัง ให้เป็นเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า พ.ศ. 2536

ลักษณะภูมิประเทศ

ลักษณะทั่วไปของเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเขาประ-บางครามมีสภาพเป็น ป่าดิบชื้น ทางภาคใต้ของไทย จากการแบ่งเขตภูมิอากาศของประเทศไทยตามระบบของ Koppen นั้น พื้นที่แห่งนี้จัดอยู่ในภูมิอากาศแบบ AF คือสภาพอากาศทั่วไปร้อนชื้นทั้งปี สภาพดินฟ้าอากาศมีฝนตกชุกเกือบตลอดทั้งปีโดยส่วนใหญ่ได้รับอิทธิพลจากลม มรสุมตะวันตกเฉียงใต้จากข้อมูลลักษณะภูมิอากาศสถิติ 30 ปีของกรมอุตุนิยมวิทยา ของสถานีตรวจวัดอากาศท่าอากาศยาน จังหวัดตรัง และสถานีตรวจวัดอากาศท่าอากาศยาน จังหวัดตรัง และสถานีตรวจวัดอากาศเกาะลันตา จังหวัดกระบี่ แล้วนำมาหาค่าเฉลี่ย ปริมาณน้ำฝนเดือนพฤษภาคมถึงเดือนพฤศจิกายนเป็นช่วงที่ฝนตกชุกซึ่งส่วนใหญ่ ได้รับอิทธิพลจากลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ โดยเดือนที่มีฝนตกมากที่สุดอยู่ในเดือนกันยายน มีปริมาณน้ำฝนเฉลี่ยประมาณ 370.5 มิลลิเมตร ส่วนในช่วงเดือนมกราคมถึงเดือนมีนาคมเป็นช่วงที่ฝนแล้งโดยมีฝนตกน้อยที่สุด ในเดือนกุมภาพันธ์ คือ มีปริมาณน้ำฝนเฉลี่ยเพียงประมาณ 14.15 มิลลิเมตรเท่านั้น ปริมาณน้ำฝนเมื่อคิดรวมตลอดทั้งปีประมาณ 183.26 มิลลิเมตร อุณหภูมิโดยเฉลี่ยตลอดทั้งปีประมาณ 27.6 องศาเซลเซียส อุณหภูมิต่ำอยู่ในช่วงมกราคมและกุมภาพันธ์โดยมีอุณหภูมิเฉลี่ยประมาณ 23.6 องศาเซลเซียส จัดอยู่ในเกณฑ์อากาศสบายทั้งปี

ลักษณะภูมิอากาศ

ลักษณะทั่วไปของเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเขาประ-บางครามมีสภาพเป็น ป่าดิบชื้น ทางภาคใต้ของไทย จากการแบ่งเขตภูมิอากาศของประเทศไทยตามระบบของ Koppen นั้น พื้นที่แห่งนี้จัดอยู่ในภูมิอากาศแบบ AF คือสภาพอากาศทั่วไปร้อนชื้นทั้งปี สภาพดินฟ้าอากาศมีฝนตกชุกเกือบตลอดทั้งปีโดยส่วนใหญ่ได้รับอิทธิพลจากลม มรสุมตะวันตกเฉียงใต้จากข้อมูลลักษณะภูมิอากาศสถิติ 30 ปีของกรมอุตุนิยมวิทยา ของสถานีตรวจวัดอากาศท่าอากาศยาน จังหวัดตรัง และสถานีตรวจวัดอากาศท่าอากาศยาน จังหวัดตรัง และสถานีตรวจวัดอากาศเกาะลันตา จังหวัดกระบี่ แล้วนำมาหาค่าเฉลี่ย ปริมาณน้ำฝนเดือนพฤษภาคมถึงเดือนพฤศจิกายนเป็นช่วงที่ฝนตกชุกซึ่งส่วนใหญ่ ได้รับอิทธิพลจากลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ โดยเดือนที่มีฝนตกมากที่สุดอยู่ในเดือนกันยายน มีปริมาณน้ำฝนเฉลี่ยประมาณ 370.5 มิลลิเมตร ส่วนในช่วงเดือนมกราคมถึงเดือนมีนาคมเป็นช่วงที่ฝนแล้งโดยมีฝนตกน้อยที่สุด ในเดือนกุมภาพันธ์ คือ มีปริมาณน้ำฝนเฉลี่ยเพียงประมาณ 14.15 มิลลิเมตรเท่านั้น ปริมาณน้ำฝนเมื่อคิดรวมตลอดทั้งปีประมาณ 183.26 มิลลิเมตร อุณหภูมิโดยเฉลี่ยตลอดทั้งปีประมาณ 27.6 องศาเซลเซียส อุณหภูมิต่ำอยู่ในช่วงมกราคมและกุมภาพันธ์โดยมีอุณหภูมิเฉลี่ยประมาณ 23.6 องศาเซลเซียส จัดอยู่ในเกณฑ์อากาศสบายทั้งปี

พืชพรรณและสัตว์ป่า

พืชพรรณสังคมพืชป่าไม้ทางภาคใต้ของประเทศไทยนั้นจัดอยู่ในเขตภูมิพฤกษ์แบบIndo-Chinese และแบบ Indo-Malaysian ที่คาบเกี่ยวซ้อนทับกันอยู่ ซึ่งสังคมพืชโดยส่วนใหญ่จะเป็นสังคมป่าดงดิบ สังคมป่าดงดิบชื้น (Tropical Rain Forest) พื้นเป็นบริเวณกว้างในพื้นที่แห่งนี้ไม้วงศ์ยาง ซึ่งเป็นพรรณไม้ดัชนีของเขตภูมิพฤกษ์ขึ้นกระจายเป็นไม้เด่น เช่น ยางยูง ยางมันหมู ตะเคียนทอง ตะเคียนหิน ตะเคียนทราย กระบาก ตะเคียนสามพอน เคี่ยม หลุมพอ นอกจากไม้วงศ์ยางแล้วยังมีไม้ชนิดอื่นๆ ที่สำคัญที่พบเป็นไม้เรือนยอดรองในป่าแห่งนี้ซึ่งขึ้นเบียดเสียดอยู่ภายใต้ เรือนยอดไม้เด่นอีกเช่น อินทนิลน้ำ นากบุตร กระท้อนป่า ตองจิง เสียดช่อ หว้า ไทร กระเพลาพระ เนียง ตีนนก จำปาป่า และตะแบก บริเวณพื้นล่างของป่านั้นจะแน่นทึบ มีจำนวนมากได้แก่ หวายต่างๆ เช่น หวายขี้เสี้ยน หวายกำพวน หวายขี้ไก่ ระกำ พรรณไม้จำพวกข่า หลาวชะโอน และลูกไม้กล้าไม้ ของเรือนยอดชั้นบน และเรือนยอดชั้นรอง แล้วยังมีไผ่หลายชนิด เช่น ไผ่ลำลอก ไผ่คายดำ ไผ่ป่า ไผ่รวกและไผ่ผาก เป็นต้น สังคมป่ารุ่นที่สอง (Secondary Forest) ชนิดพรรณไม้ที่พบ เช่น แต้ว ส้านใบเล็ก เพกา อีดบง ต้นไอ้กล้อง เหยื่อจง และพรรณไม้ในสกุล Eugenia อีกหลายชนิด สังคมป่าพรุ (Swamp Forest) เป็นสังคมป่าดงดิบพิเศษอีกชนิดหนึ่ง พรรณไม้ที่พบในป่าพรุมักจะมีการปรับตัวตามสภาพของถิ่นที่ปรากฏ คือ มักมีรากแก้วสั้น รากด้านข้างแผ่กว้าง และมีพูพอน บางชนิดมีรากค้ำยัน บริเวณนี้ได้แก่ สะเตียว ทุ่งฟ้า ชมพู่น้ำ อ้ายบ่าว หว้าหิน พ้อ หลาวชะโอน เป็นต้น

ป่าดิบชื้น (Tropical Rain Forest)

จัดเป็นป่าที่สมบูรณ์ที่สุด และสวยงามที่สุดตามธรรมชาติบในที่สูงจากระดับน้ำทะเลปานกลางไปจนถึง 1,000 เมตรป่าชนิดนี้ไม่เคยแห้งแล้ง และมีความเขียวชอุ่มตลอดปีพันธุ์ไม้จะขึ้นเบียดเสียดกันเป็นชั้นๆชั้นบนสุดเรือนยอดสูงประมาณ 40 เมตร ชั้นที่สองเป็นต้นไม้ขนาดกลางสูงประมาณ 15-30 เมตร ชั้นที่สามเป็นต้นไม้ขนาดเล็กมีความสูงประมาณ 5-15 เมตร ชั้นสุดท้ายเป็นชั้นของพืชที่ไม่ชอบแดดเช่น ขิง ข่า บุก บอน ตลอดจนเฟิร์น ไม้เด่นในสังคมป่าดิบชื้นเช่น ไม้วงศ์ยาง, หว้า, ไม้วงศ์ปาล์ม หวาย, วงศ์ขิง ข่า เป็นต้น

ป่าบริสุทธิ์ (Primaty Forest)

คือป่าที่ยังเป็นธรรมชาติ ป่าแก่ หรือป่าที่ยังไม่เคยถูกบุกรุก หรือแผ้วถามมาก่อน ซึ่งเราสังเกตได้จากลักษณะของต้นไม้ที่มีขนาดใหญ่โตกว่าบริเวณอื่น ทำให้ยังคงมีความสมบูรณ์อยู่ สัตว์ป่าจึงสามารถเข้ามาใช้พื้นที่บริเวณนี้เพื่อเป็นแหล่งหาอาหาร ทั้งจำพวกสัตว์ที่กินพืชเป็นอาหารและสัตว์ผู้ล่าทุ่งฟ้าAPOCYNACEAEพันธุ์ไม้พระราชทานของจังหวัดกระบี่ Alstonia macrophylla Wall. Ex G. Donชื่ออื่น กระทุ้งฟ้าไห้ ทุ้งฟ้าไก่ (ชุมพร) ตีนเทียน (สงขลา)พวมพร้าว (ปัตตานี)ทุ้งฟ้า เป็นไม้ต้นสูง 30 เมตร ลำต้นเปลาตรง โคนมีพูพอนเล็กน้อยเปลือกสีเทาถึงน้ำตาลเข้ม เปลือกในสีเหลือง ถึงน้ำตาลอ่อนมีน้ำยางสีขาวไหลเมื่อสับ ใบ เดี่ยว เรียงเป็นวงรอบกิ่ง วงละ 3-4 ใบแผ่นใบรูปขอบขนานถึงรูปไข่กลับ กว้าง 3-10 ซม. ยาว 5.5-28 ซม.ปลายใบเรียวแหลม โคนใบสอบแคบเป็นรูปลิ่ม เส้นแขนงใบ 14-21 คู่ท้องใบมีขนประปราย ก้านใบยาว 0.6-2.5 ซม. ดอก เล็ก สีขาวออกเป็นช่อที่ปลายกิ่ง หรือตามง่ามใบ ผล เป็นฝักเรียวผิวเกลี้ยงออกเป็นคู่ยาว 22-40 ซม. กว้าง 2-4 มม. เมล็ดเล็กรูปขอบขนาน มีขนปุยเป็นกระจุกทั้งสองข้าง ทุ้งฟ้ามีการกระจายพันธุ์ตามชายป่าและพื้นที่โล่งในป่าดิบชื้นทางภาคใต้ ที่ความสูงตั้งแต่ระดับทะเลปานกลางถึง 300 เมตร ออกดอกเดือนธันวาคม-กุมภาพันธ์ผลแก่เดือนเมษายน-มิถุนายน เนื้อไม้ใช้ในการก่อสร้าง เป็นไม้พื้นและเฟอร์นิเจอร์

ดงเฟิร์น

จัดเป็นพืชยุคโบราณสมัยดึกดำบรรพ์ มักพบขึ้นอยู่ในที่ชุ่มชื้นเช่น ในป่าดงดิบและพื้นที่ริมน้ำ ลักษณะเด่นของเฟิร์นคือ ใบอ่อนที่เพิ่งงอกจะขดม้วนเหมือนลานนาฬิกาและค่อยๆ คลายออกเมื่อเวลาผ่านไป หากพลิกดูด้านหลังใบเฟิร์นแก่ๆอาจพบอัปสปอร์ที่มีลักษณะเหมือนตุ่มเล็กๆ สีน้ำตาลอมส้มนั่นคือที่เก็บสปอร์ขนาดเล็กมากๆ หากสปอร์ซึ่งมีลักษณะเหมือนผงฝุ่นสีน้ำตาลเหล่านั้นปลิวไปตกตามแหล่งน้ำที่ชุ่มชื่นก็จะเกิดกระบวนการเจริญเติบโตเป็นต้นเฟิร์นกอใหม่ได้ต่อไป

สัตว์ป่า

เนื่องจากมีสภาพภูมิประเทศและลักษณะของสังคมพืชบริเวณเขตรักษา พันธุ์สัตว์ ป่าเขาประ-บางคราม เอื้ออำนวยต่อการอยู่อาศัยของสัตว์ป่าหลายชนิด สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม พบ 136 ชนิด 3 วงศ์ เป็นสัตว์ป่าสงวน 3 ชนิด ได้แก่ เลียงผา, แมวลายหินอ่อน และ สมเสร็จ นอกจากสัตว์ป่าสงวนยังมีสัตว์อื่นหลายชนิด เช่น หมูป่า เสือลายเมฆ เสือไฟ เก้ง กระจกเล็ก อีเห็นหน้าขาว หมาไน หมีหมาหรือหมีคน นากเล็บสั้น และยังมีพวกลิงค่างและชะนีอีกหลายชนิด เช่น ค่างดำ ค่างแว่นถิ่นใต้ ลิงกัง ลิงเสน กระรอกสามสี กระรอกท้องเทา กระรอกข้างแดง กระรอกหางม้าเล็ก พญากระรอกเหลือง ส่วนบางและลิงลม สัตว์ปีกหรือนก พบนกในพื้นที่จำนวน 313 ชนิด ใน 52 วงศ์ ได้แก่ นกโพระดกหลากสี นกจู๋เต้นตีนใหญ่ นกหกใหญ่ นกเงือกดำ นกพรานผึ้ง และนกแต้วแล้วท้องดำ สัตว์เลื้อยคลาน จากการสำรวจพบไม่น้อยกว่า 119 ชนิด ใน 15 วงศ์ เช่น เต่าเหลือง ตะพาบน้ำ แลนหรือตะกวด กิ้งก่าบินปีกสีส้ม งูเหลือม และงูเขียวหางไหม้ เป็นต้น สัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำ เช่น กบต่างๆ ที่มีมากและมีอยู่ทั่วไป เช่น กบทูด เขียดต่างๆ ปาด อึ่งอ่าง พวกปลาดุก ปลากระสูบ ปลาช่อน ฯลฯ

ข้อมูลทั่วไป ลักษณะของชุมชนในพื้นที่

หน่วยพิทักษ์ป่าหินเพิง หมู่ที่ 8 บ้านหินเพิง ตำบลคลองพล อำเภอคลองท่อม จังหวัดกระบี่ แผนที่ระวาง 4824 I พิกัด UTM 278678 หน่วยพิทักษ์ป่าเขาประ ตั้งอยู่ในท้องที่ หมู่ที่ 8 บ้านคลองชะมวง ตำบลพรุนาดิน อำเภอคลองท่อม จังหวัดกระบี่ แผนที่ระวาง 4824 I พิกัด UMT 297832 หน่วยพิทักษ์ป่าร้อนชั้นพันวา ตั้งอยู่ในท้องที่ หมู่ที่ 11 บ้านร้อยชั้นพันวา ตำบลอ่าวตง อำเภอวังวิเศษ จังหวัดตรัง แผนที่ระวาง 4824 I พิกัด UMT 359715 หน่วยพิทักษ์ป่าทุ่งไทรทอง ตั้งอยู่ในท้องที่ หมู่ที่ 1 ตำบลทุ่งไทรทอง อำเภอลำทับ จังหวัดกระบี่ แผนที่ระวาง 4824 I พิกัด UMT 353823 หน่วยพิทักษ์ป่าโตนชี ตั้งอยู่ในท้องที่ หมู่ที่ 9 บ้านโตนชี ตำบลอ่าวตง อำเภอวังวิเศษ จังหวัดตรัง แผนที่ระวาง 4824 I พิกัด UMT 375680

มหัศจรรย์”สระมรกต-น้ำผุด”เมืองกระบี่

หน้าฝนอย่างนี้หาจังหวะดีๆ เช็กสภาพอากาศกันสักหน่อย ก็สามารถเดินทางไปเที่ยวที่เมืองกระบี่ ชื่นชมมรกตแห่งอันดามันได้อย่างสุขใจ แต่ทว่าการเดินทางครั้งนี้จะเกิดขึ้นไม่ได้ หากขาดการอำนวยความสะดวกโดยโรงแรมสยามแอ็ทสยาม หัวเรือใหญ่พาเราล่องท่องเมืองกระบี่ สัมผัสความงดงามที่สรรค์สร้างด้วยธรรมชาติจนลืมเหนื่อยกันไปเลยก้าวแรกที่ได้มาเยือน หลายคนคงอยากจะกระโดดลงน้ำทะเลใสๆ ของหมู่เกาะในกระบี่สักครั้ง แต่ใจเย็นๆ ก่อน เมืองนี้ไม่ได้มีแค่ทะเลสวยเท่านั้น ยังมีสระน้ำบริสุทธิ์ที่สวยงามแห่งหนึ่งในเมืองไทยก็ว่าได้ เรากำลังหมายถึง สระมรกต (บางคนอาจไม่คุ้นหู) อยู่ห่างจากอำเภอเมืองกระบี่ประมาณ 45 กิโลเมตร เส้นทางถนนเพชรเกษม (กระบี่-ตรัง) จากนั้นเลี้ยวเข้าถนนสุขาภิบาล 2 ผ่านที่ว่าการอำเภอคลองท่อมไปอีกประมาณ15 กิโลเมตรก็จะถึงทางเข้าสระมรกตล้วงกระเป๋าเสียค่าธรรมเนียมกันนิดหน่อย ราคาคนไทย เด็ก 10 บาท ผู้ใหญ่ 20 บาท จากนั้นเดินหน้าออกกำลังขาเข้าไปอีก 800 เมตร สองข้างทางเต็มไปด้วยป่าดิบชื้นร่มรื่น และธารน้ำสีเขียวอ่อนจากสระด้านบนที่ไหลลงมา เย้ายวนตาพอให้ผู้มาเยือนได้สัมผัสความงามไปเพลินๆ สระน้ำนี้ตั้งอยู่ในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเขาประ-บางคราม ท้องที่อำเภอคลองท่อมและกิ่งอำเภอลำทับ จังหวัดกระบี่ ซึ่งหากมีโอกาสนักท่องเที่ยวจะได้พบเห็นนกหายากที่อาศัยอยู่บริเวณนี้ อย่างนกแต้วแร้วท้องดำที่เคยสูญพันธุ์ไปนานเกือบ 100 ปี ค้นพบที่เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าฯ แห่งนี้เป็นที่แรก ซึ่งมีเส้นทางศึกษาธรรมชาติหลายเส้น โดยแต่ละเส้นทางจะบรรจบที่เดียวกันคือที่สระมรกต เหงื่อชุ่มกันพอสมควร และแล้วก็มาถึงสระ ความสมดุลที่ธรรมชาติสร้าง เป็นธารน้ำอุ่นมีอุณหภูมิประมาณ 30-50 องศาเซลเซียส สามารถลงเล่นได้ นอกจากจะเห็นความใสบริสุทธิ์ของน้ำแล้ว คำถามที่เกิดขึ้นกับสายตาผู้มาเยือนคือ ทำไมสระจึงมีสีเขียวมรกต คำตอบนั้นได้จากเจ้าหน้าที่ของเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเขาประ-บางคราม ก็คือสีเขียวที่เห็นเกิดจากการตกตะกอนของแร่ธาตุที่ทับถมกันเป็นเวลานาน ซึ่งแหล่งกำเนิดอยู่ด้านบนเรียกว่า “สระน้ำผุด” เป็นต้นน้ำที่ไหลตลอดทั้งปี และมีความสวยงามกว่าสระอื่นในบริเวณนี้ บรรยายมาขนาดนี้เห็นทีต้องออกแรงตามหาเสียแล้ว สระน้ำผุด ห่างขึ้นไปประมาณ 500 เมตร บรรยากาศทั้งสองข้างทางเต็มไปด้วยดงเฟิร์นเขียวชอุ่มละลานตาทั่วเชิงเขา ถ้าเดินลึกเข้าไปจะเจอป่าบริสุทธิ์ พื้นที่ป่าที่ยังไม่เคยถูกบุกรุกทำลาย มีต้นตะโกอายุกว่าร้อยปีหลายต้น ตระหง่านเรียงแถวต้อนรับผู้มาเยือน และความสวยงามที่สะดุดตาของเฟิร์นสีฟ้า ที่เมื่อกระทบกับแสงอาทิตย์จะเห็นเป็นสีฟ้าคราม เห็นแล้วอดที่จะเก็บภาพประทับใจนี้ไม่ได้
ถึงแล้วสระน้ำผุด สระสีฟ้าที่มีขนาดไม่ใหญ่มากนัก ศูนย์กลางประมาณ 15-20 เมตร ความลึกอยู่ที่ 4-5 เมตร ลักษณะพื้นบ่อเป็นโคลนดูด เจ้าหน้าที่เตือนไว้ว่าห้ามเหยียบลงไปเพราะอาจเป็นอันตรายได้ ฟังคุณสมบัติแล้วคงดูน่ากลัว แต่อีกมุมก็เต็มไปด้วยมนต์เสน่ห์ที่ทำให้หลายคนหายเหนื่อยได้อย่างน่าเหลือเชื่อ (เหมือนอยู่ในหนังเรื่องอวตารยังไงยังงั้น) เป็นความมหัศจรรย์ที่เกิดจากน้ำซึมซับแร่ธาตุต่างๆ ของภูเขาหินปูน ทำให้น้ำมีสารละลายแคลเซียมคาร์บอเนต สามารถตกตะกอนได้ง่าย และสาเหตุที่มีน้ำผุดตลอดเวลาคล้ายน้ำเดือด เนื่องจากใต้บ่อมีรอยแยกของเปลือกโลก มีของเหลวที่มีความร้อนเรียกว่าแม็กมา (magma) ความร้อนของของเหลวนี้ระเหยเกิดเป็นแรงดัน จึงเกิดสระน้ำผุด เป็นความลงตัวของธรรมชาติให้เราได้สัมผัสลงเล่นน้ำจืดกันมาแล้ว คราวนี้ก็ถึงเวลาล่องทะเลชิมน้ำเค็มเสียที เริ่มเส้นทางที่ท่าเทียบเรือบ้านหัวหิน เพื่อนำรถตู้ข้ามไปฝั่งเกาะลันตาน้อย จากนั้นวิ่งไปตามเส้นทางบนเกาะ 8 กิโลเมตร ไปที่ท่าเรือหลังสอดเพื่อข้ามฝั่งไปเกาะลันตาใหญ่สู่ที่พัก เพื่อพักผ่อนชิมบรรยากาศค่ำคืนอันแสนงดงาม ณ คราวน์ ลันตา รีสอร์ทแอนด์สปา อัครสถานแห่งเกาะลันตา โดยมี กล้า กิจการ กรรมการผู้จัดการ สยามแอ็ทสยาม ดีไซน์ โฮเต็ลแอนด์สปา กล่าวต้อนรับ พร้อมทั้งพนักงานที่อำนวยความสะดวกในการพักผ่อนครั้งนี้ คราวน์ ลันตาฯ ตั้งอยู่พื้นที่ภูหินผา มีอ่าวส่วนตัวและโขดหิน อยู่ในบริเวณหาดคอกวาง เกาะลันตาใหญ่ ออกแบบโดยเน้นมุมมองที่มีทิวทัศน์สวยงาม
https://sites.google.com/site/rachanoksitkham/attraction/tripkrabi-prawatibxnaphudsramrkt

ที่มา เนื้อเรื่อง

ต่อจากสระมรกตเรามุ่งตรงสู่ น้ำตกร้อน แต่น้ำตกร้อน ดันปิดเนื่องจากมีน้ำป่าเราเลยอดลงแช่น้ำร้อนจากธรรมชาติไปซะยังงั้น

มุ่งหน้ากลับที่พักแงะทานโรตีที่เป้นชาวปาธานทำขอบอกว่าเทพมาก

เจ้าของวันสุดท้ายก่อนขึ้นรถไฟช่วงบ่ายเตรียมกลับกรุงเทพ ทุกคนพักผ่อนตามอัธยาศัย ในที่พักจวบจนบ่ายสองจึงมุ่งหน้ากลับกรุงเทพฯ และ

Portfolio2

Portfolio 2

 

ตอนที่แล้วได้พอกล่าวถึงภาพกว้างๆให้เห็นการจัดสรรเงินให้เหมาะกับความเสี่ยงทางการเงินต่างๆจนกลายมาเป็น คำว่า Portfolio ดังนั้น ถ้ากลับมามองในเรื่องของ การลงทุนในกองทุนสำรองเลี้ยงชีพที่มีหลายแผนจนบางคนคิดว่าทำไมแผนถึงได้มีมากถึง 12 แผน แท้ที่จริงแล้วก็แล้วก็เพื่อให้สมาชิกมีการกระจายความเสี่ยงที่เหมาะสมกับความเสี่ยง อันเกิดจากปัจจัย 2 ประการหลักๆคือ อายุและอารามณ์ สำหรับส่วนของอายุนั้น เป็นความจำเป้นที่เราต้องคำนึงถึงภาวะที่เราไม่มีรายได้แล้วและต้องใช้เงินก้อนดังกล่าว เราจึงไม่อยากไปเสี่ยงมากเพราะเราอาจต้องใช้เงินต้นในขณะที่ตลาดยังผันผวนหรือติดลบการขายเเอาเงินก้อนออกมาเท่ากับเรายอมรับสภาพการที่จะขาดทุนจริงจากการลงทุนดังกล่าว ส่วนประการต่อมาคือในเรื่องของอารมณ์อันนี้เป็นความเสี่ยงเฉพาะบุคคล บางคนไม่ยอมเสียเลยก็จะลงทุนอะไรที่เสี่ยงมากไม่ได้เห็นตัวเลขติดลบนิดหน่อยก็ไม่พอใจและเครียด ส่วนบางคนยอมเสี่ยระยะสั้นได้แต่ระยะยาวของผลตอบแทนแบบมากกว่าปกติ คนพวกนี้ก็จะทำใจกับความผันผวนในระยะสั้นได้จึงเลือกลงทุนใน สินทรัพย์ที่มีความผันผวนสูงขึ้น และมีกลยทุธ์ที่ดีในการลงทุนเพื่อให้สามารถบริหารจัดการความเสี่ยงดังกล่าวอย่างมีระบบได้ ดังนั้นก่อนที่จะสร้างportfolio ใดๆต้องคำนึงถึง คุณอา ทั้งสองให้ดี คืออารามณ์และอายุ เรื่อง อายุนั้นคงมีคำถามว่าเท่าไหร่ถึงเรียกว่าระยะยาว และผลตอบแทนเริ่มสะท้อนค่าเฉลี่ย บอกตรงครับ 5-7ปี เป้นอย่างน้อยและนี่เป็นเหตุว่าทำไมกองทุนหุ้นระยะยาว หรือ LTF จึงบังคับให้เราต้องถือไว้นานถึง5 ปี เพราะเพื่อให้ผลตอบแทนเริ่มสะท้อนค่าเฉลี่ยนั่นเอง สำหรับผู้ที่ติดตามผลการดำเนินงานของกองทุนหลังจากมีการปรับปรุงการดำเนินงานครั้งใหญ่เมื่อ4 ปีที่แล้วก็จะพบว่า ผลตอบแทนในส่วนของการงอกของเงินมีการเปลี่ยนแปลงอย่างมีนัยสำคัญ และคนที่เลือกแผนที่มีความเสี่ยงสูงเช่น 6 หรือ11 ก็จะเห็นผลตอบแทนที่เริ่มปรับตัวสะท้อนค่าเฉลี่ยของตัวเอง ซึ่งต้องอดใจอีกซักหน่อยก็จะเริ่มเห็นแซงแผนที่มีหุ้นอยู่น้อยกว่า แต่ทั้งนี้ไม่ได้หมายความว่าการเพิ่มหุ้นเข้าไปอีกจะดีเสมอไป กองทุนฯถูกออกแบบมาเพื่อให้ผ่านไปได้ทุกสภาวะ แม้ว่ามองว่าหุ้นดีก็ตามแต่ยามที่วิกฤตมาการมีสัดส่วนของพันธบัตรในอัตราค่อนข้างมากก็จะทำให้ฟื้นจากวิกฤตได้ดีกว่า เห็นได้ว่าเมื่อ เราผสมสัดส่วนของหุ้นและพันธบัตรให้เหมาะสมกับความเสี่ยงของเราก็ทำให้เรา สามารถมีPortfolio กองทุนสำรองฯทีเหมาะสมกับความเสี่ยงของตนเอง

 

นอกจากการแบ่งPortfolio ให้มีทั้งตราสารหนี้และตราสารทุนแล้ว การเพิ่มการลงทุนทางเลือกก็เป็นส่วนที่ทำให้ Portfolio ของเรามีการกระจายความเสี่ยงได้อย่างเหมาะสมไม่เอาไข่ไปใส่ไว้ในตะกร้าเดียวกัน แผนที่มีการลงทุนในต่างประเทศก็เพื่อให้มีการกระจายความเสี่ยงไม่กระจุกตัวเฉพาะหุ้นไทยกับพันธบัตรไทย เท่านั้น แม้ว่าในบางครั้งผลตอบแทนรวมจะดูน้อยกว่าเมื่อพบว่าตลาดไทยเป็นตลาดกระทิง แต่ยามที่หมีมาเยือนตลาดเรา การลงทุนในต่างประเทศก็จะเป็นเครื่องมือสู้หมีได้ดีระดับหนึ่ง นอกจากการลงทุนในทางเลือกต่างประเทศแล้ว การลงทุนใน ทอง อสังหาฯ และ กองป้องกันความเสี่ยง Hedge Fund ก็กำลังศึกษาความเป้นไปได้เพื่อให้สมาชิกมีทางเลือกและถูกกับจริตของตัวเองมากขึ้น สำหรับสมาชิกที่ไม่เห็นด้วยก็ไม่ต้องตกใจครับ เพราะไม่ได้เป็นภาคบังคับ ไม่ชอบก็ไม่ต้องไปเลือกครับ สบายใจด้วยกันทุกฝ่าย และสุดท้าย ชื่นชมสมาชิกที่นับถือศาสานอิสสาม ที่กองทุนสำรองฯได้เปิดนโยบาย ชาลีอะห์ และมีสมาชิกให้การสนใจเลือกลงทุนให้ถูกหลักศาสานของตน และยกระดับกองทุนสำรองฯของเราให้เป็นสากลมากยิ่งขึ้นครับ แล้วพบกันฉบับหน้าครับ

เหนือกว่าโตเกียว

เริ่มวันด้วยความรีบเร่งเพราะตอนเช้ามีงานสัมมนาของกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ ที่วันนี้เป็นเนื่อหาเรื่อง Risk managment โดย คุณ ภารุจ อุรุโสภณ เป็นผู้บรรยาย และมีประชุมต่อที่การบินไทย กลับมาแพ๊คกระเป๋า ไปขึ้นเครื่องบินไป นานิตะ เพื่อเริ่มวันพักผ่อน ได้ไปเครื่องการบินไทย แบบจัมโบ้  เดี๋ยวนี้แอบดีใจ ทาง ตำรวจตรวจคยเข้าเมืองมีระบบ อ้ตฌนมัติเหมือนที่ทันสมัยทั่วโลกที่เราไม่ต้องเข้าคิวรอเจ้าหน้าที่หมือนสมัยก่อนแล้ว และ สนามบินก็คนแน่นมาก นะหว่างรอเครื่องเรา3ชีวิต ก็สงสัยว่าทพไมไม่ให้ขึ้นเครื่องตามเวลา ต้องรออยู่ในห้องผู้โดยสารผ่านเป็นเวลานาน ปรากฏว่า กัปตันมาเฉลยว่า ถ้าออกเร็ว้กินไป สนามบินนาริตะยังไม่เปิดให้ลง ทำให้ต้องออกเดินทางช้ากว่าปกติ ก็ดีกว่าให้มาทนบินรอ เปลืองน้ำมันและอันตรายกว่า แล้วทำไมเค้าถึงไม่กำหนดเวลาให้เที่ยวบินนี้ช้ากว่านี้ไปเลย แอบถามเจ้าหน้าที่ดูถึงได้รู้ว่า ถ้าหน้าหนาวที่ลมแรงอาจใช้เวลามากกว่าปกติ การกำหนดตารางบินจึงต้องมีการกำหนดเผื่อสำหรับเรื่องเหล่านี้ด้วย ถึงบางอ้อครีบ

ได้ขึ้นเครื่องแล้ว ดีใจในฐานะคนใช้ตั๋วฟรี การได้ขึ้นมาบนเครื่องแล้วไม่ตกเครื่องยงนับว่าเป็นความสุขที่ซู๊ด ส่วนจะได้นั่งที่ไหน ชั้นอะไร มีอาหารหรือไม่ ไม่สน หลังจากออกเดินทางแล้ว ก็มีการเสริฟ์แซนวิช และน้ำต่างๆ แต่ดูจากผู้โดยสารคนอื่นแล้ว ไม่ค่อยมีใครสนใจกับอาหารเท่าไหร่ เพราะดึกแล้ว ง่วงก็ง่วง ห่วงดูหนังก็หว่ง สุดท้ายพ กัปตันประกาศเวลาในการเดินทางเห็นแล้วว่านอนน้อยแน่เลย เลยนอนดีกว่า นอนไปได้แปร๊ปเดียว แอร์สาวก็มาปลุกเสริฟ์อาหารเช้า แสดงว่าใกล้ลงโตเกียวแล้ว อาหารไม่ได้กินแต่แอบกินโยเกริต์และผลไม้เป็นหลัก
image

ไม่นานเครื่องก็แตะพื้รที่สนามบินนาริตะ ระหว่างรอลงเครื่องบิน ก็นึดในใจว่าวันนี้คงพ้นคิว ตรวจคนเข้าเมืองช้าแน่ๆ เพราะคนคงเยอะ โดยเฉพสะกรุ๊ปทัวร์ไทย สุดท้ายพอถึง ด่านปรากฏว่าว่างก็เพราะ เราเป็นเครื่องบินลำแรกที่มาลงในตอนสนามบินเปิดตอนเช้า เหมือนที่กัปตันแจ้งนั่นเอง

ขึ้นรถมาถึงโรงแรมได้รีบเข้านอนก่อนเลยเพราะง่วงอย่างแรงและเข็ดแล้วที่ฝืนนอนเที่ยวเพราะ หวัดจะถามหา โชคดีที่โรงแรมที่จอง อนุญาติให้เราเข้าพักก่อนเวลาจองจริง แถมไม่คิดเงินเพิ่มด้วย เนี่ยแหล่ะญี่ปุ่น ชอบทำให้รู้สึกว่า ลูกค้าได้มากกว่าคาดหวังตลอดเวลา ทำให้ทุกครั้งที่มีวันหยุดก็อยากแต่จะมาเที่ยวที่นี่ และต่อให้โรงแรมอื่นถูกกว่าก็ไม่สน รู้สึกเหมือนถ้าไปนอนที่อืนมันผิดยังไงไม่รู้

แน่นอนตื่นขึ้นมาหิวโซ และที่นอคอยมานานคือ ซูชิ สายพาน 100เยน ที่แสนจะอร่อยและคุ้มเหลือรับประทาน

อันว่าร้านซูชิที่นี่ไม่ว่าจะกินที่ไหนอร่อยหมด ทำให้กลับกรุงเทพไปไม่ว่าไปกินร้านไหนเลยรู้สึกว่าธรรมดามากๆ ประดาปล่ต่างๆเข้าขบวยพาเรดผ่านมาให้เราทาน และด้วยระบบร้านที่เน้นใช้ระบบมากกว่าคน ทำให้จำนวนโต๊ะมีและจำนวนคนมีได้เป๊นร้อนคน แต่มีพนักงานคอยดูแลแค่ 3คน แล้วเค้าก็เอาส่งนต่างตรงนี้ไปเพิ่มปริมาณอาหารในแต่ละจานให้ลูกค้า ช่างเป็นกลยุทธ์ น่าน้ำสีน้ำเงินเหลือเกิน
นอกจากนั้น ยังมีกุศโลบายในการออกแบบที่ ลูกค้าจะต้องใส่จานคืนกลัไปเอง แล้วให้มีลุ้นรางวัลทุก 5จาน ยิ่งถ้ามากับเด็กละก่อหมดตูกแน่ๆ
หลังจากอิ่มปลาดิบกันอย่างจุใจแล้ว ก็ไม่พ้นการช๊อปปิ้ง ที่ฝั่งตรงข้ามที่มีห้าง จัสโก้ใหญ่ยักษ์ แต่ก้วยความที่มาที่นี่บ่อยเลยไม่ได้สนใจการซื่อของอย่างคนอื่นเค้ามากนัก แต่ลูกชาย ชื่นชอบมากเฝ้าดูของจนเพลิดเพลิน โดยเฉพาะร้านขายของมือสองที่เต็มไปด้วยของมือสองสภาพกริ๊บ และราคาถูก มีทั้งของเล่น เกมส์วี และอื่นๆอีกมากมาย รวมทั้งติดกันเป็นร้าน 100 เยน ที่ในร้านของทุกอย่างราคา100 เยน แต่ไม่รวมภาษี

แน่นอนกาแฟ Starbuck มีทุกที่และก็มีที่นี่ด้วย อันว่าราคาStarbuck เป็นคล้ายกับ Macdonald ที่สามารถเทียบค่าครองชีพของแต่ละประเทศว่า มีความถูกแพงในค่าครองชีพต่างกันอย่างไร

หลังจากเหน็ดเหนื่อยกับการช๊อปปิ้ง สุดท้ายก็กลับไปนอนโรงแรม Narita View

23 OCT 15

ตื่นเช้าเนื่องจากจะออกเดินทางไปเมืองมรดกโลก ที่นิกโกะ เมืองที่เป็นที่มาของชื่อ Nippon ประเทศญี่ปุ่น นั่นเอง เป็นเมืงในสมัย เอโดะ ที่ อยู่ทางทิศตะวันอออกเฉียงเหนือ น้องบอล ที่เป็นคล้ายกับทัวร์ส่วนต้วที่จองโรงแรมและเป็นคนจัดการ ขับรถและอื่น ทำให้เราไปเมืองที่เราอยากไปและไม่ต้องกังวลกับ เที้ยวรถไฟและเมื่อหารค่าใช้จ่ายต่อคนแล้วก็ใกล้เคียงกัน รถที่มารับเป็นรถ Grandvia ของ Toyota นั่งกันไป2ครอบครัว นั่งสบายแถม ช่วงที่มาเป็นปลายเดือนตุลาคม ที่ใบไม้เริ่มจะเปลี่ยนสี ทำให้ได้บรรยากาศมาก เราเริ่มจอดรถที่แรกเพื่อขึ้นกระเช้าไปดู แหล่งกำเนิดของน้ำตกR5589602 และเห็นทะเลสาบ จูเซนจิ กระเช้าทำให้ มองเห็นภาพรวม ของ พิ้นที่ของบริเวณดังกล่าว ต่อมาเราก็ไปรับประทานอาหารที่ ริมทะเลสาป และกลับมาลงลิฟท์ที่ น้ำตกดังกล่าวเพื่อไปสัมผัสกับ ละอองน้ำที่ตกลงมากระทบหิน แล้วจึงรีบไปที่ นิกโก้เมืองมาดกโลก และได้ชมความยิ่งใหญ่ของยุคเอโดะ ที่มีโชกุนเป็นผู้ปกครอง หมดวันแรกอย่างรวดเร็ว สมกับ ทฤษฎีสัมพันธภาพ ของ ไอสน์ไสตน์ ในเรื่อง ของเวลาทีเดินไม่เท่ากันจริงเลย ยามที่มีความสุข เวลาจะเดินผ่านเราไปอย่างรวดเร็ว แต่เวลาที่เป็นทุกข์ เวลากลับเชื่องช้า ด้วยกฎของเวลาที่เดินไม่เท่ากันด้วยแกนความคิด จึงกลายเป็นที่มาของการบริหารจัดการความคิดให้ มุมบวกมาทำให้เวลาแห่งความทุกข์หมดลงไป

ฝนยังคงตกลงมาเบาบาง พร้อมกับอากาศที่หนาวแต่ยังไม่เหน็บ ก็หมดเวลาของวันที่สองอย่าวรวดเร็ว วันนี้ได้มีโอกาสพัก และแช่น้ำแบบ ออนเซน นอกจากนั้น ยังได้นอนแบบ เรียวกัง ญี่ปุ่นแท้ แต่แถวบ้านเราเรียก นอนฟูกนั่นเอง มีเสื่อหนาๆปูให้ แล้วก็นอนเรียงกันเหมือนทหารหรือ สมัยเที่ยวน้ำตด นอนที่พักรวมอุทยานนั่นเอง

แน่นอนเราต้องไปแช่น้ำร้อนที่ไหลมาจากภูเขา ซึ่งมีแร่ธาตุมาก และเชื่อกันว่า การแช่น้ำแร่จะทำให้เราสดชื่นผ่อนคลายและแร่ธาตุจะช่วยลด อาการปวกและไขข้อต่างๆ จึงเป็นที่ยิยมมากของชาวญี่ปุ่น และต้องสัมผัสสักครั้งที่มาเยือน ญี่ปุ่น แต่ไม่หมาะกับคนขี้อายนะครับ เพราะต้องแก้ผ้าทุกชิ้น หมายถึงเปลือย และมารยาท ต้องอาบน้ำให้เรียบร้อยก่อนจะลงไปแช่ นอกจากนั้นยังนิยมไม่ล้างตัวหลังจากแช่เสร็จแล้ว เมื่อตอนลงแช่ต้องคาอยๆหย่อนตัวลงแล้วก็แช่ลงไ ใช้เวลาแช่ซัก 10-15 นาทีก็กลับมาอาบน้ำเย็น เพื่อให้รางกายปรับตัวกับการเปลี่ยนแปลงของอากาศ ทำให้เป็นหวัดยากขึ้น คล้ายกับการเข้า ซาวน์น่านั่นเองR5589604

วันต่อมาเราเริ่มด้วยการไป Ado wonderland เป็นเหมือน Universal studio แต่ นำเอา ยุคเอโดะซึ่งเกี่ยวข้องกับ ซามมูไร นินจา และ โอโชริน ซึ่ง แบ่ง การแสดงเป็นโรงละครเล็กๆ มีการแสดงที่สมจริงสมจัง และระบบเสียงแสงดีมาก นอกจากนั้นยังมีการแสดงนอกโรง และยังมีการประลองกระบองทีาเด็กๆชื่นชอบ เผลอแป๊ปเดียวใช้เวลาเกือบทั้งวันใน Wonderland แห่งนี้ ยิ่งเป็นเด็กแล้วยิ่งหลงไหลใน สถานที่แห่งนี้อย่างยิ่ง

R5589708

เกือบมืดแล้วเรายิ่งต้องรีบไปสถานที่ใกล้กันอีกแห่งคือ โทบุค เวลิด์แสควร์ที่ จำลองเอาสถาปัตยกรรมสำคัญของโลก มารวมกันไว้ให้ถ่ายรูป อย่างไม่ขาดตกบกพร่องและ เหมือนจริงมาก
เราจบวันที่3 ด้วยสถานที่แห่งนี้แล้วกลับไปนอนที่เดิมแต่ด้วยความเหนื่อยอ่อนเราเลยไม่ได้ลง ไปแช่น้ำแร่หมือนเหมือนเมื่อวาน
วันต่อมาจุดมุ่งหมายของเราคือ เมือง ฟูกูจิม่า เมืองที่มีข่าวคึกโครมเรื่อง กัมตะภาพรังสี อันเกิดจากฌรงไฟฟ้าปรมาณูที่ถูก ผลกระทบจาก คลื่นซูนามิ ที่ถล่มฟูกูจิมะ แต่ รังสีไม่ได้กระจายไปมากแต่ก็ทำให้เมืองนี้เป็นที่รู้จักของ คนทั่วโลก

จุดแรกที่ราหยุดพักคือ หมู่บ้าน โออุจิจุคุ ที่มีมากว่า 1500ปี เป็นหมู่บ้านที่อยู่กลางภูเขา และ ปัจจุบันถูกปรับเปลี่ยนเป็นสถานที่ท่องเที่ยว มีร้านของที่ระลึกและ ร้านอาหารจำนวนมาก และมีนักท่องเที่ยวชาวญี่ปุ้นมาเที่ยวกันเอง นอกจากนั้นทางที่นำเรามาสู่หมู่บ้านแห่งนี้ มีความสวยงาม ละผ่านลำธารย่อยใหญ่ ตัดสลับกับใบไม่เปลี่ยนสีในฤดูใบไม้ร่วง

ออกจากหมู่บ้านแห่งนี่เรามุ่งหน้าสู่ ปราสาทสำคัญของ ฟูดูจิม่า ปราสาทนกกระเรียน Tsuruga castle ซึ่งเป็นปราสาททื่ถูกสร้างมาอย่างยาวนาน เคยถูกทำลายอันเนื่องจากแผ่นดินไหว และถูกสร้างขึ้นใหม่ นอกจากนั้นยังเป็นสถานที่สำคัญในสงครามกลางเมือง Boshin War ที่เป็นดลางเปลั่ยนแปลงยุคสำคัญ จากยุคของโชกุน มาเป็นยุคของกษัตริย์ หรือ ยุคเมจินั่นเอง และที่ปราสาทแห่งนี้ยังเป็นที่มาของการคว้านท้อง าราคีรึ ของ บรรดาซามูไรที่ไม่ยอมพ่ายแพ้ต่อศัตรู อีกด้วย

คืนนี้เราเข้าที่พักแบบบ้านหลังเดียวอยู่ด้วยกันหมดและซื่ออาหารทำเอง อาหารที่ทำทานกันเป็นฝีมือของน้องชนะ แน่นอน น้องชนะ เตรียมเมนูเด็ดให้เราคือ ทงคัสซึ

22 ตุลา 2558 ทริปใบไม้เปลี่ยนสี

เมืองมรดกโลก นิกโก

เมืองนิกโก (ญี่ปุ่น: 日光市 Nikkō-shi ?) เป็นเมืองที่ตั้งอยู่ในทิวเขาในจังหวัดโทะชิงิ ประเทศญี่ปุ่น อยู่ห่างจากกรุงโตเกียวไปทางทิศเหนือประมาณ 140 กิโลเมตร เป็นเมืองท่องเที่ยวที่เป็นที่นิยมของนักท่องเที่ยวทั้งชาวญี่ปุ่นและชาวต่างประเทศ ในเมืองเป็นที่ตั้งของสุสานของโชกุนโทะกุงะวะ อิเอะยะซุ กับโทะกุงะวะ อิเอะมิสึ ผู้เป็นหลาน และศาลเจ้าฟุตะระซังอายุกว่า 1,200 ปี และยังมีรีสอร์ทน้ำพุร้อนที่มีชื่อเสียงอีกมากมาย ทิวเขาทางตะวันตกของเมืองเป็นส่วนหนึ่งของอุทยานแห่งชาตินิกโก เป็นที่ตั้งของน้ำตกและเส้นทางชมทิวทัศน์ที่กล่าวกันว่าสวยงามที่สุดแห่งหนึ่งในญี่ปุ่น

ในวันที่ 20 มีนาคม พ.ศ. 2549 เมืองนิกโกเก่าถูกผนวกรวมเข้ากับเมืองอิมะอิชิ และเขตเทศบาลอะชิโอะ ฟุจิฮะระ และคุริยะมะ เป็นเมืองนิกโกใหม่

เมืองมรดกโลกนิกโก

มืองนิกโก (ญี่ปุ่น: 日光市 Nikkō-shi ?) เป็นเมืองที่ตั้งอยู่ในทิวเขาในจังหวัดโทะชิงิ ประเทศญี่ปุ่น อยู่ห่างจากกรุงโตเกียวไปทางทิศเหนือประมาณ 140 กิโลเมตร เป็นเมืองท่องเที่ยวที่เป็นที่นิยมของนักท่องเที่ยวทั้งชาวญี่ปุ่นและชาวต่างประเทศ ในเมืองเป็นที่ตั้งของสุสานของโชกุนโทะกุงะวะ อิเอะยะซุ กับโทะกุงะวะ อิเอะมิสึ ผู้เป็นหลาน และศาลเจ้าฟุตะระซังอายุกว่า 1,200 ปี และยังมีรีสอร์ทน้ำพุร้อนที่มีชื่อเสียงอีกมากมาย ทิวเขาทางตะวันตกของเมืองเป็นส่วนหนึ่งของอุทยานแห่งชาตินิกโก เป็นที่ตั้งของน้ำตกและเส้นทางชมทิวทัศน์ที่กล่าวกันว่าสวยงามที่สุดแห่งหนึ่งในญี่ปุ่น